การวิจัยในชั้นเรียน : ขั้นตอนการกำหนดประเด็นปัญหา
สี่ขั้นตอนกับการกำหนดประเด็นปัญหาและการแก้ไขการวิจัยในชั้นเรียน
ขั้นแรกเริ่มจากการค้นหาปัญหา
วิธีการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่ท่านพบในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้งอาจจะมีมากมายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งครูผู้สอนได้บันทึกไว้ในบันทึกหลังสอนในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้งแล้ว ดังนั้นท่านสามารถนำปัญหาเหล่านั้นมาใช้ได้โดยไม่ต้องคิดปัญหาขึ้นมาใหม่ และไม่ต้องวิตกว่าปัญหาต่าง ๆ จะมากเกินไปจนทำไม่หมด หรือกว้างเกินกว่าความสามารถที่จะทำได้ วิธีการง่าย ๆ ก็คือ เขียนปัญหามาให้หมดก่อน แล้วนำมาจัดกลุ่มของปัญหา เช่นเป็นปัญหาเดียวกันอยู่ด้วยกันหรือยุบรวมเป็นปัญหาเดียวหรือกำหนดเป็นประเด็นปัญหา วิธีการนี้สามารถทำให้เรามองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ทางได้ชัดขึ้นโดยวิธีนี้จะทำให้ปัญหาต่าง ๆ แคบลง หรือปัญหาที่ท่านไม่สามารถมองเห็นกระจ่างชัดขึ้น เช่นตัวอย่างต่อไปนี้
ปัญหาที่พบ
- นักเรียนขาดเรียนมาก
- นักเรียนไม่มาเรียน
- นักเรียนมาเรียนน้อย
- นักเรียนหนีเรียนไม่เข้าห้องเรียน
สรุปกำหนดเป็นประเด็นปัญหาคือเรื่องการไม่มาเรียนของนักเรียน
ขั้นที่สองการวิเคราะห์ปัญหา
เป็นการนำประเด็นปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ และควรตั้งเป็นคำถามดังนี้
- ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
- เป็นปัญหาของใคร
- ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อใครอย่างไรบ้าง
- เป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาหรือเหตุการณ์อื่นๆหรือไม่อย่างไรบ้าง
- ปัญหานี้มีใครเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหา และในการแก้ปัญหานั้นมีความเกี่ยวข้องกับใครบ้างอย่างไร
- ปัญหานี้มีความสำคัญในระดับใดเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาอื่น และจัดเรียงลำดับปัญหาทั้งหมดตามลำดับความสำคัญที่วิเคราะห์ได้
ขั้นที่สามคือการนำปัญหานั้นมากำหนดเป็นคำถามการวิจัย
เป็นการตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมีลักษณะดังนี้
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้การมาเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้น?
- ทำอย่างไรจึงจะลดอัตราการขาดเรียนให้น้อยลงได้?
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนสนใจมาเรียนมากขึ้น?
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนมาเรียนเป็นปกติ?
- ฯลฯ
จะเห็นว่า ข้อ 1 และข้อ 2 เป็นคำถามที่ใกล้เคียงกับปัญหาเดิมมาก ข้อ 3 และข้อ 4 เริ่มห่างออกไป อาจมีความคิดอื่น ๆ ที่ดีกว่านี้ แต่ตอนนี้ให้มาพิจารณาที่ปัญหาข้อที่ 4 และเราจะตั้งปัญหาใหม่ว่า จะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้เด็กมาโรงเรียนเป็นปกติ ข้อความที่ว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง? จะช่วยท่านได้มาก เนื่องจากการที่เราค้นหาวิธีการแก้ปัญหาใช้ได้หลาย ๆ วิธี จะทำให้เราพบวิธีแก้ปัญหาได้โดยไม่รู้ตัว
ขั้นที่สี่หาวิธีในการแก้ปัญหา
เมื่อตั้งคำถามแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการหาวิธีการในการแก้ปัญหาแบบครอบจักวาลคืออะไรได้ใส่มาให้หมดก่อนซึ่งขั้นตอนนี้ สุวิมล ว่องวาณิช (2547)ระบุว่าเป็นวิธีการอุ่นเครื่อง (Warm up) ขั้นนี้เป็นการเริ่มแบบฝึกหัด (ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยคิดอย่างรวดเร็ว ปล่อยใจให้เสรี (Freewheel)พยายามกำจัดข้อขัดข้องออกไปจากใจ) เป็นการฝึกหัดการคิดหรือการระดมพลังสมองเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เช่น
มีวิธีการอะไรบ้างที่จะทำให้เด็กมาเรียนเป็นปกติ?
- บริการขนมเค้กที่โรงเรียน
- ให้ดูภาพยนตร์ฟรี
- ให้เล่นแทนการเรียน
- จัดบทเรียนในรูปของการเล่นเกมส์
- จัดบทเรียนเกี่ยวกับเกมส์ต่าง ๆ
- จัดให้มีสารวัตรนักเรียนจับนักเรียนที่ขาดเรียน
- จัดให้มีการแสดงดนตรีในโรงเรียน
- จัดครูคนหนึ่งควบคุมการมาเรียน
เทคนิค. ความคิดที่กำหนดขึ้นนั้นต้องเขียนให้สั้น ๆ พยายามให้ความคิดหลั่งไหล
ออกมาให้มากที่สุด เขียนให้สั้นและรวดเร็ว อย่าทำให้กระบวนการคิดชักช้าโดยเสียเวลากับการอธิบายความคิดเห็นหรือเขียนอย่างพิถีพิถัน สิ่งที่สำคัญคือ ให้ความคิดพรั่งพรูออกมาอย่างรวดเร็ว ควรบันทึกไว้ก่อนแล้วนำมาพิจารณาหลังจากเสร็จสิ้นการคิดหรือการระดมพลังสมอง
*** ศึกษานิเทศก์ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ G/newการวิจัยชั้นเรียนวอศ.
ชื่อเรื่องวิจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ
5 หมู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้ (IS2)
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2555
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
อำเภอ เมือง จังหวัดนครพนม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต
22
ก
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง วิจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ
5 หมู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
5โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม
คณะผู้วิจัย 1. นางสาวญาณินท์ คำมุข เลขที่13
2. นางสาวณัฏยา รัตนภักดี เลขที่14
3. นางสาวปรีดาภรณ์ อินทร์ไชยา เลขที่16
4. นางสาวสิตางค์ ทวีพงษ์ เลขที่17
5. นางสาวสิทธิกานต์ ศิริวรเดชกุล เลขที่18
6. นางสาวอภิญญา เสนคะ เลขที่21
กรรมการที่ปรึกษา นายเอกลักษณ์ ใจดี ,
นางสุวรรณา ธานี
ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5/3
สถานศึกษา โรงเรียนปิยะมหาราชาลัยจังหวัดนครพนม
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ 5 หมู่
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
และความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของร่างกายกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ 5
หมู่ กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษาได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 100 คน
เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด
ซึ่งประกอบไปด้วย ตอนที่ 1
ลักษณะพื้นฐานของนักเรียน ได้แก่ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ห้องเรียน
ลักษณะการอยู่อาศัยในปัจจุบัน การศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง
รายได้เฉลี่ยต่อ
ข
เดือนของครอบครัว แหล่งความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และความต้องการ
ความชอบเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียน ตอนที่ 2
ตารางสอบถามเกี่ยวกับการรับปริมาณสารอาหารแต่ละหมวดหมู่ในแต่ละวันของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มประชากรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีส่วนสูงอยู่ที่ช่วง 151-170
เซนติเมตร มีน้ำหนักอยู่ที่ช่วง 41-60 กิโลกรัม
ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างมีรายได้อยู่ที่ช่วง 10,001-50,000 บาทต่อเดือน บริโภคโปรตีนมากที่สุด
คือเนื้อหมู คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.29 คิดเป็นร้อยละ 42.9
บริโภคคาร์โบไฮเดรตมากที่สุด คือข้าว คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.49 คิดเป็นร้อยละ 44.9
บริโภควิตามินและเกลือแร่มากที่สุด คือ ผักผลไม้ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.84
คิดเป็นร้อยละ 38.4 บริโภคไขมันมากที่สุด คือเนื้อหมู คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.70
คิดเป็นร้อยละ 37.0
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาค้นคว้า พบว่า
ควรศึกษาเป็นประจำเพื่อจะได้สร้างสุขลักษณะนิสัยที่ดีในการบริโภคอาหารของนักเรียน
และควรศึกษากลุ่มประชากรจากทุกระดับชั้น
ค
Abstract
Title The
Research of the 5 food Groups Consumption Behavior of 11th
Grades Students of Piyamaharachalaischool, NakhonPhanom Province
Authors
1.YaninKhammuk No.13
2.
NattayaRattanapakdee No.14
3.
PreedapornInchaiya No.16
4.SitangTaweepong No.17
5.SitthikanSiriworadetkun No.18
6.ApinyaSenka No.21
Advisors Mr. EkkalackJaidee and
Mrs. SuwannaThanee
Educational level Mathayom
5/3
School Piyamaharachalai School
The purposes of
this research were to study food consumption and correlation between body
growth and food consumption. The sample population was composed of 100 students
by a specific random sampling technique. The questionnaires were constructed by
the researcher which included 1) Basic feature : sex, ages, height, weight,
class number, life style, parents’ education background, parents’ occupation,
average of salary per month of family, food consumption knowledge and food
requirements. 2) Question chart about 5 food groups consumption a day. Data was
analyzed by percentage, mean, standard deviation, and independent sample t
–tests were used to analyze the data.
ง
The results found that the most
sample population were about 151-170 centimeters tall and 41-60 kilograms. And their parents had salaries about
10,001-50,000 baht a month. According a chart, conclusion of the food
consumption behavior of students were 4.29 means and 42.9 percents of pork were
eaten by the students which be the most
protein-consuming. 4.49 means and 44.9
percents of rice which were eaten by students which be the most
carbohydrate-consuming.3.84 means and 38.4 percents of vegetables &fruits
which were eaten by students which be the most vitamins minerals –consuming.
3.70 means and 37.0 percents of pork
which were eaten by the students which be the most fat-consuming.
For
suggestions, the students should be studied their food consumption
frequently to improve their consumption behavior to be better and to study all
of students.
จ
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาค้นคว้าวิจัยเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วย
ความช่วยเหลือและความอนุเคราะห์อย่างยิ่งจากท่านอาจารย์อาจารย์เอกลักษณ์ใจดีที่ให้ความรู้
คำแนะนำ
และตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆให้ข้อคิดเห็นต่างๆอันเป็นประโยชน์เป็นอย่างดีมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้นศึกษา
จนกระทั่งวิจัยเล่มนี้มีความสมบูรณ์ และขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสาทวิชาความรู้แก่คณะผู้จัดทำ
ขอขอบคุณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ปีการศึกษา2555
ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและตอบแบบสัมภาษณ์ในการทำงานวิจัยครั้งนี้รวมถึงเพื่อนๆทุกๆคนที่ให้กำลังใจ
และให้ความช่วยเหลือในการศึกษาครั้งนี้เป็นอย่างดี
จนทำให้วิจัยครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
ผู้วิจัยหวังว่าการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียน
ปิยะมหาราชาลัย ปีการศึกษา2555 และเป็นแนวทางแก่ในการบริโภคอาหาร
ส่วนข้อผิดพลาดที่มีผู้จัดทำขอน้อมรับเพียงผู้เดียว
คณะผู้จัดทำ
ฉ
สารบัญเรื่อง
หน้า
บทคัดย่อ ก-ง
กิตติกรรมประกาศ จ
สารบัญเรื่อง ฉ
บทที่1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
1-2
วัตถุประสงค์การวิจัย 3
สมมติฐานในการวิจัย 3
ขอบเขตการวิจัย 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
นิยามคำศัพท์
3-6
บทที่2การทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดและทฤษฎี 7
ผลวิจัยที่เกี่ยวข้อง
8-9
กรอบแนวคิด 9
บทที่3
ระเบียบวิธีวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 10
เครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า 10
การเก็บรวบรวมข้อมูล 10
การวิเคราะห์ข้อมูล 11
บทที่4
ผลการศึกษา 12-19
บทที่5
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลกาศึกษา 20-21
บรรณานุกรม ช
ภาคผนวก
ประวัติผู้จัดทำ
1
ที่มาและความสำคัญ
จากหลักการดำเนินชีวิตของประชาชนแล้ว
เราควรนำปัจจัยสี่อย่างมาประกอบการใช้ชีวิต ซึ่งหลักปัจจัยสี่อย่างก็คือปัจจัยสี่
เป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
เช่นคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น
โดยปัจจัยทั้งสี่อย่างนี้มนุษย์ไม่สามารถขาดได้
เพราะเมื่อขาดแล้วอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งปัจจัยสี่อย่างประกอบไปด้วย
1.
อาหาร หมายถึง สสารใด ๆ ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย
อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน
วิตามิน แร่ธาตุ
สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน
คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต
2.
ที่อยู่อาศัย มนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีที่อยู่อาศัย
เพื่อปกป้องร่างกายจากฝน ลม หรือสัตว์ร้ายต่างๆที่จะมาทำอันตรายต่อมนุษย์เอง
ดังนั้นมนุษย์จึงต้องอาศัยในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต
3.
เครื่องนุ่งห่ม มนุษย์มีเครื่องนุ่งห่มไว้เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็นหรือแสงแดด
ป้องกันการกระแทกกระทบวัตถุอื่น
และเพราะเหตุต่างๆนั้นมนุษย์จึงเริ่มสวมใส่เสื้อผ้า
4.
ยารักษาโรค มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโรคภัยไข้เจ็บเช่นสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นต้องใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการเมื่อเจ็บป่วยหรือเพื่อให้หายขาดจากโรคที่ตนเจ็บป่วยอยู่
หรือเพื่อเสริมสร้างและซ่อมแซมสิ่งที่เสียหาย ผุพังไป และนำกลับมาใช้ได้เหมือนปกติ
เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบของปัจจัยสี่อย่างแล้ว
เราจะสามารถอธิบายได้ว่า ถ้าหากเรามีปัจจัยสีอย่างครบนั่นก็หมายถึง
เรามีกำลังในด้านต่างๆที่พอที่จะซื้อ หรือบริโภคสิ่งต่างๆได้
สามารถบริโภคอาหารให้ครบห้าหมู่หรืออาจมากกว่าหรือน้อยกว่าได้
ซึ่งกำลังที่จะสามารถหา
2
มาบริโภคได้นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามีปัจจัยทั้งสี่อย่างในจำนวนที่มากน้อยเพียงใด
และในการบริโภคสิ่งต่างๆ
ความแตกต่างของการใช้ชีวิตของแต่ละคนก็อาจมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อมาจากการขาดหรือเกินของการบริโภคได้
ซึ่งก็คือ ถ้าขั้นพื้นฐานดีขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์
ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพนั้นจะต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านร่างกาย
ทางด้านจิตใจนั้นจะต้องได้รับการพัฒนาโดยที่ประชาชนจะต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีการอบรมปฏิบัติอย่างมีศีลธรรมและจริยธรรมที่ดีต่อตนเองและสังคม
ส่วนการพัฒนาทางด้านร่างกายนั้นประชากรจะต้องมีภาวะโภชนาการที่ดี
จะส่งผลให้คนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
อันจะนำไปสู่ผู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งทางใจและทางกายในการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านและโดยธรรมชาติของวัยรุ่นจะจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาโภชนาการเนื่องจากในวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจกล่าวคือวัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกายพัฒนาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วร่างกายจึงต้องการสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการทำงานของเซลล์เนื้อเยื่อกระดูกตับและอวัยวะอื่นๆอีกทั้งมีการเพิ่มของน้ำหนักตัวส่วนสูงต่อมต่างๆทำงานมากขึ้นและฮอร์โมนถูกขับออกมาเพิ่มมากขึ้นด้วยซึ่งมีความต้องการพลังงานและสารอาหารค่อนข้างสูงโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมองให้มีการเจริญและพัฒนาไปตามวัยส่งผลให้มีสติปัญญาดีมีความพร้อมในการเรียนรู้ทำให้เกิดการพัฒนาโดยที่คุณภาพของนักเรียนขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย
จะเห็นได้ว่าเด็กและวัยรุ่นที่มีคุณภาพจัดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ประเทศชาติในอนาคตจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นว่าปัญหาการบริโภคอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญของการพัฒนาบุคคลโดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวัยเรียนระดับมัธยมศึกษาเนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มประชากรที่สำคัญกลุ่มหนึ่งของประเทศเพราะจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปจึงน่าสนใจศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนดังนั้นวัยนี้ค่อนข้างมีอิสระทางด้านความคิดและการตัดสินใจทำอะไรได้ด้วยตนเองในหลายๆด้านรวมถึงการบริโภคอาหารได้โดยศึกษาว่านักเรียนมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารอย่างไรบ้างและมีปัจจัยใดที่มีอิทธิพลทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้นทั้งจะเป็นผลในการวางแผนให้ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อเตรียมการเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีของประเทศในอนาคตและอาจเป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษารุ่นหลังๆได้
3
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ
5 หมู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของร่างกายกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ
5 หมู่นักเรียน
สมมติฐานในการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัยบริโภคอาหารครบ
5 หมู่
ขอบเขตการวิจัย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย เท่านั้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ
5 หมู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5
2. ข้อมูลที่ได้มานี้อาจนำไปเพื่อแก้ไขปัญหาและหาแนวทางป้องกันปัญหาโภชนาการของวัยรุ่นโดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
นิยามคำศัพท์
1.การบริโภค เมื่อกล่าวขึ้นอย่างลอยๆ อาจหมายถึง
การรับประทานอาหาร แท้จริงแล้วการบริโภคนั้นมีความหมายว่า
การใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง
โดยสิ่งที่มีอยู่นั้นจะเสื่อมสภาพ ร่อยหรอ หรือหมดไปในชั่วระยะเวลาหนึ่ง
และอาจต้องหาสิ่งใหม่มาเพิ่มเติมเมื่อต้องการใช้อีก มักใช้คู่กับคำว่า การอุปโภค
หมายถึงการใช้สิ่งที่มีอยู่แต่จะไม่หมดไป หรือสามารถทดแทนได้เรื่อยๆ
โดยไม่ต้องไปสรรหา รวมเป็น การอุปโภคบริโภค
แต่ผู้ที่สามารถทำทั้งการบริโภคและการอุปโภคจะเรียกว่า ผู้บริโภค เพียงอย่างเดียว
4
2. พฤติกรรม หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายใน
และสิ่งเร้าภายนอก
3. สุขภาพเป็นการเรียกการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค
สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย
จิตใจ สังคม และวิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้วก็จะเข้าสู่ที่เรียกว่าสุขภาวะ
สำหรับองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ได้ให้ความหมายของ
สุขภาพไว้ในธรรมนูญขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี ค.ศ.1948 ไว้ดังนี้
“สุขภาพหมายถึง สภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจรวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขและมิได้หมายความเฉพาะเพียงแต่การปราศจากโรคและทุพพลภาพเท่านั้น”
ต่อมาในที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2541
ได้มีมติให้เพิ่มคำว่า “Spiritual well-being” หรือสุขภาวะทางจิตวิญญาณเข้าไปในคำจำกัดความของสุขภาพเพิ่มเติม
4. อาหาร
หมายถึงสสารใด ๆซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ อาทิ คาร์โบไฮเดรตไขมันโปรตีนวิตามิน หรือแร่ธาตุ
สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน
คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต
5.คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอินทรีย์ที่ให้พลังงานที่สำคัญแก่ร่างกาย
มักพบอยู่ในรูปของแป้ง และน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ พบมากในข้าว แป้ง ขนมปัง ผัก ผลไม้ทำหน้าที่เป็นสารตัวแรกที่ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงานสารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้พลังงานแก่ร่างกาย
6. โปรตีนเป็นอาหารหมู่สำคัญ
กรดอะมิโนก็เป็นหน่วยย่อยของโปรตีนการได้กรดอะมิโนที่เหมาะสมครบถ้วน
มีความสำคัญต่อสุขภาพมากกว่าการได้รับโปรตีนปริมาณมากๆเสียอีก
หากเราขาดกรดอะมิโนตัวใดตัวหนึ่งก็เหมือนกับว่า
เราขาดส่วนผสมในการทำปูนซีเมนต์ให้แข็งตัว
หรือหากแข็งตัวได้ก็จะกลายเป็นปูนที่ไม่แข็งแรง ผมยกตัวอย่างเช่นในข้าวโพดจะขาด
5
กรดอะมิโนตัวหนึ่งคือทริปโตแฟน
หากเราขาดตัวนี้ก็จะส่งผลต่อการทำงานของสมองดังนั้นเราจะต้องทานอาหารชนิดอื่นที่มีอะมิโนตัวนี้เข้าไปสมองก็จะได้ทริปโตแฟนไปใช้นั่นเอง
7. ไขมัน มีอยู่ในอาหารธรรมชาติทั่วไป
มีมากในอาหารประเภทมันสัตว์และมันพืชหน้าที่หลักต่อร่างกายคือ
ให้พลังงานและควมอบอุ่น ( ไขมัน1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี
) และช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ( fat soluble vitamin ) เข้าสู่กระแสโลหิต
8.วิตามิน
เป็นส่วนหนึ่งของสารอาหารเป็นสารที่ร่างกายต้องการเพียงวันละน้อย
แต่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายตั้งแต่การหายใจของเซลล์ การนำโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อ
และผลิตพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตนอกจากนี้วิตามินยังจำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ
เช่น การสร้างเม็ดเลือดแดงการแข็งตัวของเลือด การสร้างกระดูก การมองเห็น
และการทำงานของระบบประสาทวิตามินจึงเป็นสารสำคัญที่ร่างกายจะขาดไม่ได้
9.เกลือแร่หมายถึงแร่หรือสารประกอบอนิททรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของอาหารส่วนที่เหลือเป็นเถ้าหลังจากการเผาไหม้สารอินทรีย์ทั้งหมดในเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ร่างกายคนเราต้องการเกลือแร่แต่ละชนิดแตกต่างกันซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
2 กลุ่ม คือ เกลือแร่หลักเป็นเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการปริมาณมากและเกลือแร่ปริมาณน้อยเกลือแร่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกายเป็นองค์ประกอบของเซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาทเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์
ฮอร์โมน และวิตามินนอกจากนี้เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะจากความสำคัญและหน้าที่
ดังกล่าวนั้นจะเห็นว่าเกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายซึ่งร่างกายต้องได้
รับเพียงพอร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรงอาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหารตัวอย่างเกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วยแคลเซียม
ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดงและโพแทสเซียม เป็นต้น
10.โภชนาการ หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายคนแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโตการค้ำจุนและการซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกายโภชนาการ
6
มีความหมายกว้างกว่าและต่างจากคำว่าอาหาร เพราะอาหารที่กินกันอยู่ทุกวันนี้มีดีเลวต่างกัน
อาหารหลายชนิดที่กินแล้วรู้สึกอิ่มแต่ไม่มีประโยชน์ หรือก่อโทษต่อร่างกายได้
7
บทที่2
การทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดและทฤษฎี
พฤติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคล
ไม่เฉพาะแสดงปรากฎออกมาภายนอกเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล สังเกตเห็นไม่ได้โดยตรง
เช่นคุณค่าที่เขายึดถือเป็นหลักในการประเมินสิ่งต่างๆ
ทัศนคติหรือเจตคติที่เขามีต่อสิ่งต่างๆความคิดเห็น ความเชื่อ รสนิยม และสภาพจิตใจ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะของบุคลิกภาพของบุคคลที่กำหนดพฤติกรรม
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
เป็นการแสดงออกของบุคคลทั้งที่สังเกตได้และสังเกตไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
โดยมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ได้แก่ ความเชื่อในการบริโภคอาหาร( Food
belicf ) เป็นความเข้าใจ และประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดและสะสมกันมา
โดยมักจะมีเหตุผลหรือข้ออ้างอิงเป็นคำอธิบายถึงผลความเชื่อนั้นๆ
ซึ่งอาจเป็นจริงหรือไม่ก็ได้ ความนิยมในการเลือกบริโภคอาหาร ( Food fad ) เป็นการกระทำที่เอาอย่างกัน เพื่อแสดงความมีส่วนร่วม รักษาสถานะทางสังคม
หรือเพื่อความจำเป็นทางเศรษฐกิจ โดยไม่จำเป็นต้องถูกต้องและมีเหตุผลเสมอไป
ข้อห้ามในการบริโภค ( Food taboo ) เป็นเกณฑ์ทางสังคมที่ถือปฏิบัติ
สืบทอดกันในสภาวะหรือสถานการณ์บางอย่าง บริโภคนิสัย ( Food habits ) หมายถึง ลักษณะและการกระทำซ้ำซาก ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งทำด้วยความตั้งใจ
สืบต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เพื่อให้การรับประทานอาหารของเขา
บรรลุถึงความประสงค์ทางอารมณ์และสังคม
แนวทางการบริโภคอาหาร
การบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ
จะทำให้มีการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม และมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ
หากบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย
ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตและมีสุขภาพดี ควรรับประทานอาหารให้ครบ
5
หมู่ทุกวัน
-หมู่ที่
1
เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง อาหารหมู่นี้ให้สารอาหารประเภท
โปรตีนเป็นหลัก โดยเฉพาะเนื้อปลาจะให้กรดอะมิโนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน (Growth
hormone) ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อจากสารโปรตีน และการสร้างกระดูกยาวต่างๆ
-หมู่ที่
2
ข้าว มัน และน้ำตาล อาหารหมู่นี้เป็นแหล่งสำคัญของพลังงาน แต่น้ำตาลมี
คาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว
ในขณะที่ข้าวและเผือกให้ใยอาหารด้วย
8
-หมู่ที่
3
พืชผักต่างๆ เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด โดยเฉพาะพืชผักที่เขียวจัดและเหลืองจะมีสารแคโรทีนมาก
ซึ่งร่างกายเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้
-หมู่ที่
4
ผลไม้ต่างๆ นอกจากให้พลังงานเพราะมีคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังให้วิตามินและเกลือแร่ด้วย
-หมู่ที่
5
ไขมัน เป็นแหล่งสำคัญของพลังงาน การปรุงอาหารควรใช้กรดไขมันไม่อิ่มตัว
ซึ่งมีอยู่ในน้ำมันพืชต่างๆ ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว
เพราะนอกจากจะให้กรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกายแล้ว
ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดในอนาคตด้วย
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
และปัจจัยที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนนั้น
พบว่ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ คือ
กรมพลศึกษา
(2529: บทคัดย่อ) ได้ศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพเพื่อแสวงหาลู่ทางไปสู่สุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543
กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั่วประเทศ 1,600
คนผลการวิจัยพบว่า
พฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหารของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีและด้านการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพของนักเรียนเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
ความสะอาดของร่างกาย การออกกำลังกาย เกิดจากปัจจัยจาการอบรมสั่งสอนแนะนำของครูมากที่สุด
รองลงไป ได้แก่มารดา บิดา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรื่องการรับประทานอาหาร
นักเรียนในเขตเมือง
และชนบทมีพฤติกรรมปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โดยนักเรียนในเขตเมืองมีพฤติกรรมการปฏิบัติดีกว่านักเรียนในเขตชนบทในเรื่องการกินอาหารสุกๆ
ดิบๆ หรือการกินอาหารครบทุกหมู่ การได้กินอาหารกลางวัน
สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตน ในเรื่องการรับประทานอาหาร ได้แก่
เพศ อาชีพของบิดา มารดา การศึกษาของบิดามารดา ภูมิภาคและเขตที่ตั้งโรงเรียน
สุนีมุนิปภา
(2531: บทคัดย่อ) ได้ศึกษา พฤติกรรมการกินของเด็กวัยเรียน
อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ยกตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
จำนวน 90 คน ใช้การสัมภาษณ์ และแบบบันทึกอาหารที่บริโภค 3 วัน ผลการวิจัยพบว่าระดับรายได้ของครอบครัว
9
ขนาดของครอบครัวและลำดับที่การเกิดเป็นบุตร
ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกิน ส่วน
ระดับการศึกษาของบิดาและระดับการศึกษาของมารดา
พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกิน
และพฤติกรรมการกินมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ
กรอบแนวคิด
การสำรวจการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยจะทำให้ทราบว่าวัยรุ่นไทยกินอาหารอะไรบ้าง
กินอย่างไร ในปริมาณเท่าไร
เพราะเมื่อทราบว่าวัยรุ่นไทยกินอะไรบ้างก็จะสามารถทราบภาวะโภชนาการโดยรวมหรือภาพรวมของภาวะโภชนาการของวัยรุ่นไทย
หรือทำให้ทราบแนวโน้มว่าวัยรุ่นไทยจะประสบปัญหาโภชนาการอย่างไร
นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาศึกษาว่าวัยรุ่นไทยจะมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือไม่
อย่างไร เสี่ยงต่อการได้รับสารปนเปื้อน เช่น อะฟล่าทอกซินหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
10
บทที่3
ระเบียบวิธีวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ
นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมดประจำโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จำนวน 332คน (ข้อมูลฝ่ายวิชาการ
โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย, 2555)
การวิจัยในครั้งนี้
กลุ่มตัวอย่างนั้นได้มาจากการสุ่มประชากรจำนวน 100 คนดังนี้
1. สุ่มจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 เท่านั้น
2. กำหนดขนาดตัวอย่างตามแต่ละห้องเรียนให้ใกล้เคียงกัน
3. แบ่งจำนวนเพศชายและหญิงใกล้เคียงกัน
เครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม(questionnaire)
จำนวน 100ชุด ซึ่งประกอบไปด้วย
·
ตอนที่1 ลักษณะพื้นฐานของนักเรียนคือเพศอายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ห้องเรียนลักษณะการอยู่อาศัยในปัจจุบันการศึกษาของผู้ปกครองอาชีพของผู้ปกครองรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวแหล่งความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและความต้องการ
ความชอบเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของตัวนักเรียน
·
ตอนที่2 ตารางสอบถามเกี่ยวกับการรับปริมาณสารอาหารแต่ละหมวดหมู่ในแต่ละวันของนักเรียน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้
1. แจกแบบสอบถามกับนักเรียนในห้องเรียนที่ได้เลือกสุ่มไว้แล้วจำนวน
100 ชุด
2. นำแบบสอบถามที่ได้คืนมาตรวจสอบและใช้ได้มีจำนวน
87 ชุด
11
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้
ทางคณะผู้จัดทำได้ศึกษาเรื่องสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ 5
หมู่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
ซึ่งได้ใช้ข้อมูลสองส่วนในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ก็คือ
ส่วนที่หนึ่งที่จะประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง
และส่วนที่สองที่จะเป็นเนื้อหาของปริมาณสารอาหารแต่ละหมวดหมู่ที่กลุ่มตัวอย่างได้รับในแต่ละวัน
โดยในกลุ่มตัวอย่างเราได้ใช้จำนวนเพศหญิงและเพศชายในจำนวนที่ใกล้เคียงซึ่งได้จากการสุ่มเลือก
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างและหลากหลาย
12
บทที่4
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ
5 หมู่ต่อวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ปีการศึกษา
2555 จำนวน 100 คน
โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน
ดังนี้
ส่วนที่
1 ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 1 แสดงเพศของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เพศ
|
จำนวน
(คน)
|
ร้อยละ
|
ชาย
|
50
|
50
|
หญิง
|
50
|
50
|
รวม
|
100
|
100
|
จากตารางที่
1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเพศชาย จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 50
และเป็นเพศหญิง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 50
13
ตารางที่ 2 แสดงส่วนสูงของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ส่วนสูง
|
จำนวน
(คน)
|
ร้อยละ
|
ต่ำกว่า
150 เซนติเมตร
|
1
|
1
|
151-170
เซนติเมตร
|
73
|
73
|
171
เซนติเมตรขึ้นไป
|
26
|
26
|
รวม
|
100
|
100
|
จากตารางที่
2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีส่วนสูงต่ำกว่า 150 เซนติเมตร จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1เปอร์เซ็น ส่วนสูง 151-170 เซนติเมตร
จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 73 และส่วนสูง171 เซนติเมตรขึ้นไป
จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 26
14
ตารางที่ 3 แสดงน้ำหนักของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
น้ำหนัก
|
จำนวน
(คน)
|
ร้อยละ
|
ต่ำกว่า
40 กิโลกรัม
|
3
|
3
|
41-60
กิโลกรัม
|
72
|
72
|
61 กิโลกรัมขึ้นไป
|
25
|
25
|
รวม
|
100
|
100
|
จากตารางที่
3พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีน้ำหนักต่ำกว่า 40
กิโลกรัม จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3 น้ำหนัก 41-60 กิโลกรัม จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 72 และน้ำหนัก 61 กิโลกรัม จำนวน 25 คิดเป็นร้อยละ 25
15
ตารางที่ 4แสดงรายได้ของบิดามารดา/ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
รายได้บิดามารดา/ผู้ปกครอง
|
จำนวน
(คน)
|
ร้อยละ
|
ต่ำกว่า
10,000 บาท/เดือน
|
9
|
9
|
10,001-50,000
บาท/เดือน
|
64
|
64
|
50,001
บาท/เดือนขึ้นไป
|
27
|
27
|
รวม
|
100
|
100
|
จากตารางที่
4พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีรายได้ของบิดามารดาและผู้ปกครองที่มีรายได้
ต่ำกว่า
10,000 บาท/เดือนจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 9 คน รายได้ 10,001-50,000 บาท/เดือน
จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 64 และรายได้
50,001 บาท/เดือนขึ้นไป จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 27
16
ส่วนที่
2พฤติกรรมการบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ต่อวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย ปีการศึกษา 2555
โปรตีน
|
ระดับการบริโภค
|
ค่าเฉลี่ย
|
ระดับการบริโภค
|
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
เนื้อหมู
|
48
|
35
|
15
|
2
|
0
|
4.29
|
มากที่สุด
|
เนื้อปลา
|
14
|
29
|
42
|
15
|
0
|
3.42
|
มาก
|
เนื้อไก่
|
13
|
37
|
34
|
16
|
0
|
3.47
|
มาก
|
อาหารทะเล
|
6
|
15
|
38
|
38
|
3
|
2.83
|
ปานกลาง
|
นม
|
37
|
33
|
20
|
9
|
1
|
3.96
|
มาก
|
ไข่
|
45
|
42
|
19
|
4
|
0
|
4.05
|
มาก
|
ถั่วเมล็ดแห้ง
|
6
|
9
|
29
|
41
|
15
|
2.50
|
ปานกลาง
|
ค่าเฉลี่ยรวม
|
3.50
|
มาก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตารางที่5 แสดงระดับการบริโภคโปรตีน