คำอธิบายรายวิชา(Course
Description) รหัสวิชา ง 20222
ชื่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2:
Communication and Presentation)
รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง
จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ศึกษา
เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์จากรายวิชา IS1
(Research and Knowledge Formation) เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก
โดยเขียนโครงร่าง บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป
ในรูปของรายงานการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการเป็นภาษาไทยความยาวจำนวน 4,000 คำ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,500 คำ
มีการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เรียบเรียงและถ่ายทอดสื่อสาร นำเสนอความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการนำเสนอ
ในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual) หรือกลุ่ม (Oral
panel presentation) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย และมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ
เพื่อให้เกิดทักษะ
ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ และทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งาน
และถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
ทักษะ/กระบวนการเขียนโครงร่าง
บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป
ในรูปของรายงานการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการเป็นภาษาไทยความยาวจำนวน 4,000
คำ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,500 คำ
มีการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เรียบเรียงและถ่ายทอดสื่อสาร นำเสนอความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการนำเสนอ
รหัสตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์
องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง
2. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาว
4,000 คำ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,500 คำ
3. นำเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุปจากประเด็นที่เลือกในรูปแบบเดี่ยว(Oral
individual) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย
4. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะโดยใช้การสนทนา
/ วิพากษ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-conference, social media online
5. เห็นประโยชน์และคุณค่าการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์
รวมทั้งหมด....5........
ผลการเรียนรู้
โครงสร้างวิชา การสื่อสารและนำเสนอ (is2) รหัสวิชา i20202
เดือน
งานที่ต้องทำ
วันที่ส่ง
ลายมือชื่อครู
หมายเหตุ
ตุลาคม -
พฤศจิกายน
1. แบ่งกลุ่ม
2. จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม 1 ฉบับ
20 คะแนน
ธันวาคม
1. นำเสนองานในรูปแบบ (ส่งแผ่นซีดี)
( ) PowerPoint
( ) E-book
10 คะแนน
20 คะแนน
มกราคม
1. ตัวแทนกลุ่มนำเสนองานหน้าห้อง
2. เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ
( ) แผ่นพับ
( ) Facebook (สร้างFan Page)
10 คะแนน
10 คะแนน
10 คะแนน
กุมภาพันธ์
1. เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ (ต่อ)
( ) Weblog
20 คะแนน
รวมทั้งสิ้น
100 คะแนน
คำอธิบายรายวิชา(Course
Description) รหัสวิชา ง 20222
ชื่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2: Communication and Presentation)
ชื่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2: Communication and Presentation)
รายวิชาเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลาเรียน 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ศึกษา
เรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดอย่างสร้างสรรค์จากรายวิชา IS1
(Research and Knowledge Formation) เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและสังคมโลก
โดยเขียนโครงร่าง บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป
ในรูปของรายงานการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการเป็นภาษาไทยความยาวจำนวน 4,000 คำ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,500 คำ
มีการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เรียบเรียงและถ่ายทอดสื่อสาร นำเสนอความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการนำเสนอ
ในรูปแบบเดี่ยว (Oral individual) หรือกลุ่ม (Oral
panel presentation) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย และมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ
เพื่อให้เกิดทักษะ
ในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ และทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
เห็นประโยชน์และคุณค่าในการสร้างสรรค์งาน
และถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
ทักษะ/กระบวนการเขียนโครงร่าง
บทนำ เนื้อเรื่อง สรุป
ในรูปของรายงานการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการเป็นภาษาไทยความยาวจำนวน 4,000
คำ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,500 คำ
มีการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้อย่างหลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เรียบเรียงและถ่ายทอดสื่อสาร นำเสนอความคิดอย่างชัดเจน เป็นระบบ มีการนำเสนอ
รหัสตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1. วางโครงร่างการเขียนตามหลักเกณฑ์
องค์ประกอบและวิธีการเขียนโครงร่าง
2. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาว
4,000 คำ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ความยาว 2,500 คำ
3. นำเสนอข้อค้นพบ ข้อสรุปจากประเด็นที่เลือกในรูปแบบเดี่ยว(Oral
individual) หรือกลุ่ม (Oral panel presentation) โดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย
4. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะโดยใช้การสนทนา
/ วิพากษ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-conference, social media online
5. เห็นประโยชน์และคุณค่าการสร้างสรรค์งานและถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นประโยชน์
รวมทั้งหมด....5........
ผลการเรียนรู้
โครงสร้างวิชา การสื่อสารและนำเสนอ (is2) รหัสวิชา i20202
เดือน
|
งานที่ต้องทำ
|
วันที่ส่ง
|
ลายมือชื่อครู
|
หมายเหตุ
|
ตุลาคม -
พฤศจิกายน |
1. แบ่งกลุ่ม
2. จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม 1 ฉบับ
|
20 คะแนน
| ||
ธันวาคม
|
1. นำเสนองานในรูปแบบ (ส่งแผ่นซีดี)
( ) PowerPoint
( ) E-book
|
10 คะแนน
20 คะแนน
| ||
มกราคม
|
1. ตัวแทนกลุ่มนำเสนองานหน้าห้อง
2. เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ
( ) แผ่นพับ
( ) Facebook (สร้างFan Page)
|
10 คะแนน
10 คะแนน
10 คะแนน
| ||
กุมภาพันธ์
|
1. เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ (ต่อ)
( ) Weblog
|
20 คะแนน
| ||
รวมทั้งสิ้น
|
100 คะแนน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) หน่วยที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 องค์ประกอบและวิธีการเีขียนโครงร่างรายงานทางวิชาการ
สาระสำคัญ การเขียนรายงานทางวิชาการ จะให้ความสำคัญกับการจัดรูปแบบและองค์ประกอบเป็นอย่างมาก ดังนั้น
ผู้เขียนรายงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดรูปแบบและองค์ประกอบของรายงานทางวิชาการ เพื่อจะได้จัดทำรายงานทางวิชาการได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้ 1)ความหมายของการเขียนรายงานทางวิชาการ 2)แนวคิดพื้นฐานในการเขียนรายงาน 3)องค์ประกอบของการเขียนรายงาน และ 4)การเขียนโครงร่างรายงาน
ผู้เขียนรายงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดรูปแบบและองค์ประกอบของรายงานทางวิชาการ เพื่อจะได้จัดทำรายงานทางวิชาการได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้ 1)ความหมายของการเขียนรายงานทางวิชาการ 2)แนวคิดพื้นฐานในการเขียนรายงาน 3)องค์ประกอบของการเขียนรายงาน และ 4)การเขียนโครงร่างรายงาน

การเขียนรายงานทางการศึกษา เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ผลงาน และเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้พัฒนาการศึกษาด้วยกัน เป็นเอกสารหลักฐานในการวางแผนพัฒนางาน และเป็นเครื่องมือ ในการประเมินคุณภาพงาน การเขียนรายงานเป็นการสื่อสารให้ผู้อื่นรับทราบ จึงต้องเขียนให้ถูกต้อง ตามรูปแบบสากล ที่คนทั่วไปเข้าใจ ยอมรับ คืออิงหลักวิชาการ ถ้าผู้เขียนได้ศึกษาหลักการ แนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการเขียนรายงาน มีการฝึกทักษะการเขียนก็จะเขียนได้ เขียนเป็น
1. ความหมายของการเขียนรายงานทางวิชาการ
ในการเขียนรายงานนั้น มีความหมายของคำบางคำ ใกล้เคียงกัน ที่ควรทราบ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง และนำไปใช้ในการวางแผนการเขียน ให้สอดคล้องกับลักษณะของงาน ดังนี้
- รายงาน (Report) หมายถึง ผลงานของการศึกษาค้นคว้า หรือการปฏิบัติงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียด แล้วนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ อย่างมีระเบียบ แบบแผน ที่กำหนดไว้ เพื่อให้ผู้สั่งงาน หรือผู้รับรายงาน และผู้สนใจทั่วไป พิจารณา
- บทนิพนธ์ หมายถึง ผลงานการเรียบเรียง อันเนื่องมาจากการศึกษาค้นคว้า ของผู้ศึกษา จำแนกเป็น รายงาน ภาคนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์
- ภาคนิพนธ์ (Term Paper) หมายถึง ผลงานที่รวบรวมและเรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ผู้สอนมอบหมายให้ทำ ใช้เป็นส่วนประกอบของการศึกษาวิชาใดวิชาหนึ่ง มีลักษณะเป็นการศึกษาเอกสาร ไม่ใช่วิจัยสนาม (Field Research) ซึ่งมักมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์จริง
- วิทยานิพนธ์ (Thesis Dissertations) เป็นรายงาน ที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย ข้อเท็จจริง อย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบ ตามลำดับขั้นของการวิจัย เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อการศึกษา ระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก มีปริมาณและคุณภาพสูงกว่า ภาคนิพนธ์
รายงานโดยทั่วไป มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ การแสดงความคิด ความรู้ และความรู้สึก มีรายละเอียดการเขียนแตกต่างกันบ้าง อาจแบ่งรายงานเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือรายงานทั่วไป กับ รายงานทางวิชาการ
- รายงานทั่วไป ได้แก่รายงานข้อเท็จจริง หรือ ข้อคิดเห็น ของบุคคลหรือหน่วยงานหรือสถานการณ์ เหตุการณ์ ซึ่งได้ดำเนินไปแล้ว หรือกำลังดำเนินอยู่ หรือจะดำเนินต่อไป ได้แก่ รายงานแสดงผลงาน หรือรายงานเสนอผลงาน ซึ่งผู้รับผิดชอบรายงานผลการปฏิบัติงาน ต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง ว่ามีผลงานเป็นอย่างไร หรือมีแนวโน้มไปทางใด รายงานเหตุการณ์ บอกให้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ เป็นระยะ ถ้ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
- รายงานทางวิชาการ ได้แก่ รายงานที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า ของนักวิชาการหรือสถาบันทางวิชาการ มักได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย โดยมีระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นข้อเท็จจริง ปราศจากการต่อเติมเสริมแต่งใช้สำนวนภาษาที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ใช้พรรณนาโวหารไพเราะ เน้นความรู้ ความถูกต้อง มีระบบการอ้างอิง ที่มาของข้อมูล เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้า อ้างอิงได้ใช้ชื่อต่าง ๆ เช่น รายงานการค้นคว้าทดลอง รายงานการวิจัย รวมถึง รายงานภาคนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ ก็เป็นรายงานทางวิชาการแบบหนึ่ง
2. แนวคิดพื้นฐานในการเขียนรายงาน
การเขียนรายงาน โดยเฉพาะรายงานทางวิชาการที่มีประโยชน์ จำเป็นจะต้องอิงหลักวิชาการ เป็นการนำเสนอความคิด ความรู้ ที่ถูกต้อง เกิดประโยชน์ในการอ่าน ตอบสนองความต้องการของผู้อ่านได้ เพราะความมุ่งหมายที่แท้จริงของการเขียน ก็คือ เขียนเพื่อให้ผู้อื่นอ่านการที่จะเขียนให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากการอ่านตามจุดมุ่งหมาย ผู้เขียนควรจะได้เขียนอย่างประณีตในการใช้รูปแบบถ้อยคำภาษา จัดลำดับการนำเสนอเนื้อหา เป็นขั้นตอน ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน นักเขียนมืออาชีพ จะพิจารณาตอบคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้ ก่อนลงมือเขียนผลงาน
1. คุณลักษณะของผู้อ่านเป็นอย่างไร
2. ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการเขียนอย่างไร
3. ควรจะเรียบเรียงนำเสนอเนื้อหาอย่างไร
หลักการ แนวคิดพื้นฐานสำคัญของนักเขียนมืออาชีพ ได้แก่
1. คุณลักษณะของผู้อ่านเป็นอย่างไร
2. ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในการเขียนอย่างไร
3. ควรจะเรียบเรียงนำเสนอเนื้อหาอย่างไร
หลักการ แนวคิดพื้นฐานสำคัญของนักเขียนมืออาชีพ ได้แก่
- 1. คำนึงถึงผู้อ่าน ถ้าได้ทราบล่วงหน้า ว่าผู้อ่านรายงานคือใคร พื้นฐานความรู้ความคิดเป็นอย่างไร จะทำให้ทราบความรู้ ความสามารถ และความคาดหวัง ที่ผู้อ่านต้องการจากรายงานได้ ทำให้การเขียนรายงานทำได้ตรงความต้องการของผู้อ่าน รายงานจะมีประโยชน์มากกว่าเขียนครอบคลุมผู้อ่านหลายระดับ ซึ่งตอบสนองได้ยากกว่าเขียนโดยคำนึงถึงผู้อ่าน ยึดความต้องการของผู้อ่านเป็นสำคัญ ผู้อ่านต้องการทราบอะไรเขียนให้ตรง ไม่ควรเขียน หรือรายงานทุกอย่างที่ผู้เขียนทราบ แต่รายงานเฉพาะที่ผู้รับรายงานต้องการหรือควรทราบเท่านั้น ประหยัดเวลาของผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงสิ่งที่ต้องการโดยเร็ว เขียนเนื้อหาสั้น ๆ ให้ได้ความชัดเจนเขียน สาระสำคัญ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ให้มีจุดสังเกต เห็นได้ง่าย เช่น ตัวใหญ่ ตัวหนา แยกห่างจากข้อความอื่น หรือมีเครื่องหมายพิเศษกำกับเขียนให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมการอ่านของผู้อ่าน (พอกซัน. 2537 : 26) มีการวิจัยพบว่า แนวคิด ข้อความ ที่กล่าวถึงก่อน จะทำให้ผู้อ่านจำได้มากกว่า แนวคิดข้อความที่กล่าวภายหลัง เอกสารยิ่งยาว ความน่าอ่านก็ยิ่งลดลง ผู้อ่านสนใจที่จะอ่าน ปัญหาและข้อสรุป ตลอดจนคำแนะนำต่าง ๆ มากกว่าจะอ่าน คำบรรยาย เรื่อง วิธีการ เนื้อหาทั่วไปหรือข้อมูล รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ และผู้อ่านรายงานมักจะคิดว่าตนเองถูกเสมอ
- 2. กำหนดจุดประสงค์ในการเขียน ถ้าผู้เขียนมีจุดประสงค์ของการเขียนชัดเจนผู้เขียนจะได้แนวทางในการเขียน และผู้อ่านจะได้รับรู้แนวทางชัดเจนตามไปด้วย ไม่ควรเขียนเพราะจำเป็นต้องเขียน ก่อนเขียน ควรจะตอบคำถามให้ได้ว่า ต้องการให้รายงานนี้ มีผลต่อผู้อ่านและต่อผู้เขียนเองอย่างไรบ้าง จุดประสงค์ของการเขียนทั่วไป 4 ข้อ มีดังนี้
1. เพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริง ให้ความรู้ ให้ข้อมูล
2. เพื่อแนะนำ ชักจูงให้เชื่อถือ ปฏิบัติตาม
3. เพื่อแสดงตัวของผู้เขียน เพราะการเขียนจะบ่งบอกคุณลักษณะของผู้เขียน
4. เพื่อสนับสนุนหลักการ ให้ความบันเทิง อารมณ์ขัน
2. เพื่อแนะนำ ชักจูงให้เชื่อถือ ปฏิบัติตาม
3. เพื่อแสดงตัวของผู้เขียน เพราะการเขียนจะบ่งบอกคุณลักษณะของผู้เขียน
4. เพื่อสนับสนุนหลักการ ให้ความบันเทิง อารมณ์ขัน
การเขียนที่มีจุดประสงค์แตกต่างกัน ต้องเลือกเนื้อหา วิธีเขียน รูปแบบการเขียน และเลือกใช้ภาษาที่ต่างกัน จึงจะเกิดผลตามความมุ่งหมาย
จุดประสงค์ของการเขียนรายงาน ควรจะมีหลายข้อ เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ควรมุ่งแสดงข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล แนวปฏิบัติ ความคิด ความรู้
จุดประสงค์ของการเขียนรายงาน ควรจะมีหลายข้อ เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ควรมุ่งแสดงข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล แนวปฏิบัติ ความคิด ความรู้
- 3. กำหนดรูปแบบการเรียบเรียงนำเสนอเนื้อหา การเสนอเนื้อหา หรือแนวในการเขียน หมายถึง วิธีเรียบเรียงข้อความให้สอดคล้องกับเนื้อหา จุดมุ่งหมายในการเขียน จนผู้อ่านสามารถรับ และเข้าใจได้ดีถึงสาระ ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสาร แนวการเขียนมีหลายแบบตามประเภทของงานเขียน ผู้เขียนจะต้องกำหนดแนวการเขียนไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ยึดถือเป็นแนวในการเขียนให้สม่ำเสมอตลอดทั้งเล่มรายงาน เป็นความเรียงให้ความคิด ความรู้ ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวอย่างรวดเร็ว แจ่มแจ้ง จึงนิยมเขียนเป็นความเรียง ซึ่งเป็นแนวการเขียนในลักษณะเรียบเรียงข้อความเป็นเรื่องเป็นราว โดยใช้ภาษาตรงไปตรงมา สั้น กระชับ ลักษณะของรายงานที่ดีตาม ความคาดหวังของผู้อ่าน มีแนวทางการนำเสนอ 3 ประการ คือ
1. นำเสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นของตนเอง ความแปลกใหม่ เช่น นำเสนอแนวคิดเก่าด้วยวิธีการใหม่ ใช้วิธีใหม่ ๆ ในการปฏิบัติ การอธิบายความ ไม่ใช่เพียงแต่นำข้อเท็จจริงมาเรียงต่อ ๆ กัน เท่านั้น
2. ใช้ทำนองเขียนที่สม่ำเสมอ ลักษณะของการนำเสนอ ย่อมขึ้นอยู่กับเรื่องที่เขียน และ
คุณลักษณะของผู้อ่านและผู้เขียนแต่ละคนด้วย แต่ควรจะใช้ทำนองเขียน เสมอต้นเสมอปลายทั้งเล่ม เช่นการดำเนินเรื่อง การเขียนหัวข้อ การเขียนสรุป การกล่าวถึงตัวผู้เขียนและกล่าวถึงผู้อ่าน
3. จัดลำดับเนื้อหาสาระ ใช้โครงสร้างรูปแบบสากล โดยทั่วไปงานเขียนมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และบทสรุป บทนำต้องสร้างความสนใจในเนื้อหา เนื้อหาให้ความกระจ่าง ชัดเจน ถูกต้อง แสดงผลตามจุดมุ่งหมาย บทสรุปมีข้อความอภิปรายที่ผู้อ่านประทับใจ
4. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง มีเนื้อหาครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
5. ใช้ภาษาถูกต้องที่เป็นทางการ ภาษาราชการ เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
2. ใช้ทำนองเขียนที่สม่ำเสมอ ลักษณะของการนำเสนอ ย่อมขึ้นอยู่กับเรื่องที่เขียน และ
คุณลักษณะของผู้อ่านและผู้เขียนแต่ละคนด้วย แต่ควรจะใช้ทำนองเขียน เสมอต้นเสมอปลายทั้งเล่ม เช่นการดำเนินเรื่อง การเขียนหัวข้อ การเขียนสรุป การกล่าวถึงตัวผู้เขียนและกล่าวถึงผู้อ่าน
3. จัดลำดับเนื้อหาสาระ ใช้โครงสร้างรูปแบบสากล โดยทั่วไปงานเขียนมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ บทนำ เนื้อหา และบทสรุป บทนำต้องสร้างความสนใจในเนื้อหา เนื้อหาให้ความกระจ่าง ชัดเจน ถูกต้อง แสดงผลตามจุดมุ่งหมาย บทสรุปมีข้อความอภิปรายที่ผู้อ่านประทับใจ
4. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง มีเนื้อหาครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
5. ใช้ภาษาถูกต้องที่เป็นทางการ ภาษาราชการ เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
3. องค์ประกอบของการเขียนรายงาน
ในการเขียนหรือพิมพ์รายงานแต่ละสถานศึกษาจะกาหนดให้เขียนในรูปแบบเดียวกันทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบและสะดวกในการประเมินผล ส่วนประกอบของรายงานการค้นคว้าทั่วไปแบ่งได้ 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้
ส่วนประกอบตอนต้น
เป็นส่วนประกอบที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
เป็นส่วนประกอบที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ปกนอก (Cover หรือ Binding) คือส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานประกอบด้วยปกหน้า
สัน และปกหลัง ควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควรสีสันเหมาะสมกับเนื้อหา หรืออาจใช้ปกของแต่ละสถาบันการศึกษาซึ่งได้จัดทาสาเร็จไว้แล้วก็ได้ อาจมีภาพหรือไม่ก็ได้ถ้ามีภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ปัจจุบันการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทาให้สามารถออกแบบปกให้สวยงามได้อย่างสะดวกง่ายดาย ข้อความที่ปรากฏบนปกนอก ประกอบด้วย
สัน และปกหลัง ควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควรสีสันเหมาะสมกับเนื้อหา หรืออาจใช้ปกของแต่ละสถาบันการศึกษาซึ่งได้จัดทาสาเร็จไว้แล้วก็ได้ อาจมีภาพหรือไม่ก็ได้ถ้ามีภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ปัจจุบันการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทาให้สามารถออกแบบปกให้สวยงามได้อย่างสะดวกง่ายดาย ข้อความที่ปรากฏบนปกนอก ประกอบด้วย
1.1 ชื่อเรื่องของรายงาน อยู่ห่างจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมาประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว และควรกะให้อยู่กึ่งกลางพอดี (ไม่มีคาว่ารายงานเรื่อง)
1.2 ชื่อผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ เขียนหรือพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้เขียนรายงาน ในกรณีที่รายงานนั้นมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ชื่อทุกคนโดยจัดเรียงตามลาดับตัวอักษร
1.3 ส่วนล่างของหน้าปก ประกอบด้วยข้อความตามลาดับ ดังนี้
1.2 ชื่อผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ เขียนหรือพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้เขียนรายงาน ในกรณีที่รายงานนั้นมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ชื่อทุกคนโดยจัดเรียงตามลาดับตัวอักษร
1.3 ส่วนล่างของหน้าปก ประกอบด้วยข้อความตามลาดับ ดังนี้
1.3.1 ชื่อของรายวิชาที่กาหนดให้เขียนรายงาน
1.3.2 ระดับชั้น
1.3.3 ชื่อของสถาบันการศึกษา
1.3.4 ภาคการศึกษา ปีการศึกษาที่ทารายงาน
1.3.2 ระดับชั้น
1.3.3 ชื่อของสถาบันการศึกษา
1.3.4 ภาคการศึกษา ปีการศึกษาที่ทารายงาน
บรรทัดล่างสุดของส่วนล่างปกควรห่างจากขอบล่าง 1.5 – 2 นิ้ว บทนิพนธ์ของ
แต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันบ้าง ในรายละเอียดตามที่สถาบันกาหนด
แต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันบ้าง ในรายละเอียดตามที่สถาบันกาหนด
2. หน้าปกใน (Title Page) อยู่ต่อจากปกนอกและมีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก ชื่อเรื่องของรายงานพิมพ์อยู่ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษ โดยให้ห่างจากขอบบนประมาณ 2 นิ้ว และห่างจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ กันถ้าชื่อเรื่องยาวแบ่งเป็นสอง-สามบรรทัดตามความเหมาะสม ชื่อผู้เขียนรายงานโดยทั่วไปเขียนเฉพาะชื่อและนามสกุลไม่ต้องเขียนคานาหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ยกเว้นในกรณีที่ผู้เขียนมียศหรือบรรดาศักดิ์ เช่น ม.ร.ว ม.ล. หรือ ร.ต.ท. ฯลฯ ให้ใส่ไว้ด้วยใต้ชื่อผู้เขียนควรใส่เลขประจาตัวหรือรหัสประจาตัวนักศึกษาด้วย ตาแหน่งของชื่อผู้เขียนคือตรงกลางหน้ากระดาษ เว้นระยะจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ กัน และอยู่ห่างจากข้อความส่วนบนและส่วนล่างของหน้ากระดาษเป็นระยะพอๆ กัน ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เขียนชื่อทุกคนเรียงตามลาดับอักษร และใส่รหัสประจำตัวไว้ต่อจากชื่อในบรรทัดเดียวกัน ส่วนข้อความที่แจ้งว่าเป็นรายงานการค้นคว้าประกอบรายวิชาใด สถาบันศึกษาใด ภาคเรียนและปีการศึกษาใด จัดพิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหน้ากระดาษโดยให้บรรทัดสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบล่างประมาณ 1 นิ้ว
3. คำนำ (Preface) คือส่วนที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของรายงานเรื่องนั้น รวมทั้งความสาคัญและขอบเขตของเนื้อหา นอกจากนั้นยังอาจกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำ จนสำเร็จด้วยดี คำนำอาจมีเพียงย่อหน้าเดียว สอง หรือสามย่อหน้าก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา คำนำไม่ควรเขียนยาวเกินไป ให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ไว้กลางหน้ากระดาษไม่ขีดเส้นใต้ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความในบรรทัดถัดลงมา เมื่อจบข้อความแล้วให้ลงชื่อ นามสกุลของผู้เขียน ถ้าทำงานเป็นกลุ่มให้ลงคำว่า “คณะผู้จัดทา” และลงวันที่ เดือน (เขียนเต็มไม่เขียนย่อ) ปี (ไม่ต้องมีคำว่า พ.ศ.) กำกับไว้ด้วย
4. สารบัญ (Table of Contents) ให้เขียนหรือพิมพ์คาว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา 2 นิ้ว มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องอยู่หลังคำนำจัดทำเมื่อเขียนหรือพิมพ์รายงานเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่บอก ชื่อตอน บท หัวข้อใหญ่หรือหัวข้อย่อยเรียงตามลำดับเนื้อหาในเล่ม มีเลขหน้าเริ่มต้นกำกับอยู่ด้านขวามือ พิมพ์ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว ข้อความในหน้าสารบัญให้เขียนหรือพิมพ์ห่างจากขอบซ้ายของหน้ากระดาษ 1.5 นิ้ว
5. สารบัญตารางหรือบัญชีตาราง (List of Tables) จัดทำเมื่องานเขียนนั้นมีตารางจานวนมาก และตารางเป็นส่วนประกอบที่สาคัญของเนื้อหา (ถ้างานเขียนนั้นทั้งเล่มมีตารางเพียงหนึ่งหรือสองตารางก็ไม่จาเป็นต้องทำหน้าสารบัญตาราง) เรียงไว้ต่อจากหน้าสารบัญเป็นหน้าที่แสดงให้ทราบถึงจำนวนตารางทั้งหมดในเนื้อเรื่องเรียงตามลำดับที่ปรากฏในรายงานซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านค้นหาได้สะดวก จัดหน้าลักษณะเดียวกับสารบัญโดยพิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา 2 นิ้ว พิมพ์คำว่า “บัญชีตาราง” หรือ “สารบัญตาราง” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่” เป็น “ตารางที่”
6. สารบัญภาพประกอบหรือบัญชีภาพประกอบ (List of illustrations) อยู่ต่อจากหน้าบัญชีตาราง (ถ้ามี) เป็นหน้าที่บอกให้ทราบถึงจานวนภาพประกอบ แผนผัง แผนที่ กราฟ แผนภาพทางสถิติต่างๆ หรือแผนภูมิ ทั้งหมดในเรื่องไปจนถึงภาคผนวก พิมพ์คาว่า “บัญชีภาพประกอบ” “สารบัญภาพ” “สารบัญแผนภูมิ” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่” เป็น “ภาพที่” การกำกับหน้าในส่วนประกอบตอนต้นนั้นให้เริ่มนับตั้งแต่หน้าปกในเป็นต้นไปโดยใช้ตัวอักษรกากับ งานเขียนภาษาไทยใช้ ก ข ค… และงานเขียนภาษาอังกฤษใช้เลขโรมัน I II III…เรียงไปตามลาดับ
ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text)
เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียดซึ่งผู้ทำรายงานได้เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า จึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานเขียนทางวิชาการทุกประเภท ประกอบด้วย
เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียดซึ่งผู้ทำรายงานได้เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า จึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานเขียนทางวิชาการทุกประเภท ประกอบด้วย
1.บทนำ (Introduction) เป็นสิ่งแรกที่จะทาให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับความคิดและกลวิธีการเขียนของผู้เขียน มีส่วนอย่างสำคัญในการจุดประกายความสนใจของผู้อ่านให้อยากติดตามอ่านต่อไป ถ้าบทนำไม่น่าสนใจ สับสน หรือคลุมเครือผู้อ่านจะไม่รู้สึกอยากอ่านดังนั้นบทนำจึงต้องชัดแจ้ง น่าอ่าน และกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่แรกเริ่มของบทนิพนธ์
บทนำอาจเป็นแค่เพียงย่อหน้าเดียวหรือทั้งบทก็ได้โดยทั่วไปแล้วความยาวของรายงานการค้นคว้ามีผลต่อความยาวของบทนำ รายงานฉบับเล็กๆ อาจจะมีความนำที่เรียบเรียงอย่างน่าอ่านเพียงหนึ่งย่อหน้าที่เรียกว่าย่อหน้านำ ในขณะที่ภาคนิพนธ์เรื่องยาวๆ อาจจะมีบทนำแยกต่างหากหนึ่งบท
สำหรับบทนาที่แยกเป็นบทจะจัดอยู่ในบทที่ 1 โดยเขียนแบบเดียวกับบทอื่นๆ คือกลางหน้ากระดาษ บรรทัดแรกเขียน “บทที่ 1” และบรรทัดถัดลงมาใช้ชื่อบทว่า “บทนำ” หรืออาจใช้ชื่อบทเป็นอย่างอื่นตามความเหมาะสม ในกรณีที่เขียนบทนำอย่างสั้นแต่เนื้อหาอื่นๆ แบ่งเป็นบทอาจใช้หัวข้อว่า “บทนำ” หรือ “ความนำ” โดยไม่ต้องมีคาว่าบทที่
เนื้อความที่เรียบเรียงลงในบทนำเป็นการปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาของเรื่อง ความมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องหรือสภาพปัญหาที่ต้องการนำเสนอ หรือความบันดาลใจของเรื่องทั้งนี้เพื่อเป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่องให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของเนื้อเรื่องทั้งหมด
2.ส่วนเนื้อหา (Body of Paper) เป็นส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมดของรายงานการค้นคว้า การนำเสนอเนื้อหาอาจแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอนเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นประเด็นสาคัญของเนื้อหาตามลาดับและต่อเนื่องกัน ส่วนการจะแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอน หรือเป็นหัวข้ออย่างไรและมีจานวนมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ ขอบเขต และความสั้นยาวของเนื้อเรื่องถ้าเป็นรายงานการค้นคว้าขนาดสั้นไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นบทหรือตอนก็ได้เพียงแต่แบ่งตามหัวข้อสาคัญๆ ของเนื้อเรื่องให้เหมาะสมแต่ถ้าเป็นภาคนิพนธ์ขนาดยาวควรแบ่งเป็นบทหรือตอนให้ชัดเจน
3. บทสรุปหรือสรุป (Conclusion) คือส่วนที่เขียนย้ำหรือเน้นประเด็นสาคัญของเนื้อหาหรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า เช่นเดียวกับที่บทนาเป็นความสาคัญขั้นแรกในการชักจูงให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง บทสรุปก็มีบทบาทสาคัญในการทำให้ผู้อ่านจับประเด็นของเนื้อเรื่องที่ได้อ่านไปทั้งหมด บทสรุปจะอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง อาจแยกเป็นบทตากหากหรือเป็นเพียงย่อหน้าท้ายๆ ของเรื่อง
ส่วนประกอบตอนท้าย (back matter หรือ reference matter)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
1. หน้าบอกตอน (Half Title Page) คือหน้าที่พิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเพื่อบอกว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร ส่วนใหญ่แล้วหน้านี้จะปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานการค้นคว้า เช่น หน้าบอกตอน “บรรณานุกรม” หน้าบอกตอน “ภาคผนวก” และหน้าบอกตอน “ดรรชนี”
2. บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง (Bibliography หรือ References) เป็นรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ใช้ประกอบการค้นคว้า รายการวัสดุอ้างอิงทุกชิ้นที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาต้องมาปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมด้วย แต่อาจมีบางรายการที่มีอยู่ในบรรณานุกรมแต่ไม่ปรากฏในการอ้างอิงเพราะผู้เขียนเพียงแต่ได้แนวคิดมาจากวัสดุนั้นแต่ถ้าใช้คำว่าเอกสารอ้างอิง รายการที่อยู่ในเนื้อหาและในรายการเอกสารอ้างอิงต้องมีตรงกันทุกรายการ การเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิงต้องเขียนให้ถูกต้องตามแบบแผน
3. ภาคผนวก (Appendix) คือส่วนที่นามาเพิ่มไว้ตอนท้ายของรายการเพราะไม่ใช่เนื้อหาที่แท้จริงหรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง แต่เห็นว่ามีประโยชน์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องหรือช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้รายการการค้นคว้าไม่จาเป็นต้องมีภาคผนวกเสมอไปขึ้นอยู่กับความจาเป็นและความเหมาะสมของแต่ละเรื่อง
4. ดรรชนี หรือ ดัชนี (Index) คือบัญชีรายชื่อ หรือคำ หรือหัวข้อในเนื้อเรื่องที่นามาจัดเรียงไว้ตามลำดับอักษรพร้อมทั้งแจ้งเลขหน้าที่ปรากฏ ดรรชนีเป็นเครื่องมือช่วยให้ค้นเรื่องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
4. การเขียนโครงร่างรายงาน (Report Outline)
การเขียนโครงร่าง ผู้เรียนจะต้องแสดง ชื่อโครงการ สาระการเรียนรู้/วิชา ชื่อผู้ค้นคว้าหรือเจ้าของผลงาน ความสำคัญของหัวข้อเรื่องที่ค้นคว้า วัตถุประสงค์ของการค้นคว้า ประโยชน์ที่ได้รับจากการค้นคว้า การรวบรวมสรุปข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าพร้อมเอกสารอ้างอิง วิธีหรือแบบแผนการค้นคว้าการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
การกำหนดหัวข้อค้นคว้า (Research Question)
ชื่อเรื่องจะต้องสะท้อนหรือชี้วัดให้เห็นภาพของผลงาน ซึ่งจะต้องเรียบเรียงเป็นรูปคำถาม หรือ ประเด็นค้นคว้า ในที่นี้จะนำเสนอเป็นตัวอย่าง เช่น
๑. หัวข้อเรื่อง : การออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นไทย
หัวข้อค้นคว้า : องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบโทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นไทย
๒. หัวข้อเรื่อง : การออกแบบจักรยาน
หัวข้อค้นคว้า : การแนะนำวัสดุใหม่ๆ สามารถปรับปรุงการออกแบบรถจักรยานแข่งขันแบบใหม่ได้หรือไม่
๓. หัวข้อเรื่อง : ความรุนแรงในครอบครัวไทย
หัวข้อค้นคว้า : ศึกษา/วิเคราะห์สาเหตุของความรุนแรงในครอบครัวไทยและทางแก้ปัญหา
๔. หัวข้อเรื่อง : ความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองไทย
หัวข้อค้นคว้า : ศึกษา/วิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนไทยสองกลุ่มและทางแก้ปัญหา ฯลฯ
๕. หัวข้อเรื่อง : การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
หัวข้อค้นคว้า : ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน
๖. หัวข้อเรื่อง : การโฆษณา
หัวข้อค้นคว้า : การใช้ทัศนศิลป์ในการโฆษณาสินค้า
การกำหนดโครงสร้างของผลงาน
ผลงานการเขียนรายงานผลการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้เลือกอย่างอิสระ จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ส่วน ได้แก่ คำนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Body/Development) และบทสรุป (Conclusion)
๑. คำนำ (Introduction)สาระจะต้องประกอบด้วย
- การให้เหตุผลในการเลือกหัวข้อเรื่อง ความสำคัญและคุณค่าที่ได้จากการศึกษา
- บอกความเป็นมาและความสำคัญของหัวข้อเรื่อง
- ระบุหัวข้อค้นคว้า (Research Question) ให้ชัดเจน
๒. เนื้อเรื่อง (Body/Development)
เนื้อเรื่องเป็นส่วนสำคัญของผลงานความเรียง ซึ่งผู้เขียนจะต้องลำดับเนื้อหาตามรูปแบบโครงสร้างที่ถูกต้อง โดยจัดลำดับเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยตามธรรมชาติของเนื้อหา การลำดับความคิดหลักและความคิดรองเป็นต้น
เนื้อเรื่องเป็นส่วนสำคัญของผลงานความเรียง ซึ่งผู้เขียนจะต้องลำดับเนื้อหาตามรูปแบบโครงสร้างที่ถูกต้อง โดยจัดลำดับเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยตามธรรมชาติของเนื้อหา การลำดับความคิดหลักและความคิดรองเป็นต้น
๓. บทสรุป (Conclusion)
บทสรุปจะต้องมีลักษณะของการสรุปการนำเสนอความคิดรวบยอดที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อเรื่อง การอ้างอิงหลักฐานประกอบความคิด จบด้วยการเสนอและชี้นำประเด็นที่ค้นพบ รวมทั้งหัวข้อเรื่องประเด็น/เรื่อง ที่ยังไม่ได้ค้นคว้าศึกษาในผลงานชิ้นนี้ แต่ควรค่าแก่การค้นคว้าเป็นผลงานเรื่องต่อไป
บทสรุปจะต้องมีลักษณะของการสรุปการนำเสนอความคิดรวบยอดที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อเรื่อง การอ้างอิงหลักฐานประกอบความคิด จบด้วยการเสนอและชี้นำประเด็นที่ค้นพบ รวมทั้งหัวข้อเรื่องประเด็น/เรื่อง ที่ยังไม่ได้ค้นคว้าศึกษาในผลงานชิ้นนี้ แต่ควรค่าแก่การค้นคว้าเป็นผลงานเรื่องต่อไป
๔. การเขียนสาระย่อ (Abstract)
การเขียนสาระย่อสำหรับผลงานการเขียนความเรียงขั้นสูงตามความเหมาะสม และในการเขียนสาระย่อ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นการเขียนคำนำ (Introduction) สาระย่อจะต้องมีสาระที่สะท้อนให้เห็นการพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง
การเขียนสาระย่อสำหรับผลงานการเขียนความเรียงขั้นสูงตามความเหมาะสม และในการเขียนสาระย่อ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจว่าไม่ใช่เป็นการเขียนคำนำ (Introduction) สาระย่อจะต้องมีสาระที่สะท้อนให้เห็นการพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง
๕. หน้าสารบัญ (Content Page)
การเขียนหน้าสารบัญ ผู้เรียนจะต้องลำดับหัวข้อเรื่อง เอกสารอ้างอิงภาคผนวกและมีเลขหน้ากำกับทุกหัวเรื่อง
การเขียนหน้าสารบัญ ผู้เรียนจะต้องลำดับหัวข้อเรื่อง เอกสารอ้างอิงภาคผนวกและมีเลขหน้ากำกับทุกหัวเรื่อง
๖. การอ้างอิงโดยใช้ภาพประกอบ (Illustrations)
ผู้เรียนจะต้องรู้จักใช้ภาพประกอบคำอธิบายความคิดเห็นอย่างเป็นระบบและอย่างมีความหมาย
ผู้เรียนจะต้องรู้จักใช้ภาพประกอบคำอธิบายความคิดเห็นอย่างเป็นระบบและอย่างมีความหมาย
๗. การอ้างอิง/บรรณานุกรม (References)
ในการค้นคว้าข้อมูล ผู้เรียนจะมีการค้นคว้าจากแหล่งค้นคว้าหลากหลายประเภท ได้แก่ เอกสารข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ ครูผู้สอนจึงควรนำเสนอรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงทุกประเภทซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นสากล ที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่
ในการค้นคว้าข้อมูล ผู้เรียนจะมีการค้นคว้าจากแหล่งค้นคว้าหลากหลายประเภท ได้แก่ เอกสารข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ ครูผู้สอนจึงควรนำเสนอรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิงทุกประเภทซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นสากล ที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่
- ๑. สมาคมรัฐศาสตร์อเมริกัน (American Political ScienceAssociation : APSA)
- ๒. สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association :APA)
- ๓. สภาบรรณาธิการกิจชีววิทยา (Council of Biology Editors :CBE)
- ๔. แนวทางการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบฮาร์วาร์ด (Harvard Citationand referencing Guide)
ซึ่งโดยภาพรวมจะมีการเขียนเอกสารอ้างอิงที่เป็นที่นิยมที่มีส่วนประกอบและรูปแบบเรียงเป็นลำดับ ดังนี้ ชื่อผู้แต่ง (พ.ศ) ชื่อเรื่อง วันที่ สถานที่พิมพ์ ชื่อสำนักพิมพ์ ตัวอย่างเช่น
— Peterson, A.D.C. School Across Frontiers : the Storyof International Baccalaureate and the United World College.La Salle, Illinois : Open Court, ๑๙๘๗.
— Peterson, A.D.C. (๑๙๘๗), Schools Across Frontiers :the story of the International Baccalaureate and the United WorldCollege, Open Court : La Salle, Illinois.
— Peterson, A.D.C. School Across Frontiers : the Storyof International Baccalaureate and the United World College.La Salle, Illinois : Open Court, ๑๙๘๗.
— Peterson, A.D.C. (๑๙๘๗), Schools Across Frontiers :the story of the International Baccalaureate and the United WorldCollege, Open Court : La Salle, Illinois.
๘. ภาคผนวก (Appendix)
ภาคผนวกไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการเขียนเรียบเรียงผลงานความเรียงขั้นสูง เอกสารที่ผู้เรียนสามารถใส่ไว้ในภาคผนวกได้แก่ ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ
ภาคผนวกไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญในการเขียนเรียบเรียงผลงานความเรียงขั้นสูง เอกสารที่ผู้เรียนสามารถใส่ไว้ในภาคผนวกได้แก่ ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ
๙. การใช้สื่อและวัสดุอื่นๆ ประกอบ (The Use of Other Media andMaterials)
การใช้วีดิโอเทปและการใช้เทปบันทึกไม่อนุญาตให้ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลเพื่อยืนยันความรู้ที่เกิดจากการค้นคว้า
การใช้วีดิโอเทปและการใช้เทปบันทึกไม่อนุญาตให้ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลเพื่อยืนยันความรู้ที่เกิดจากการค้นคว้า