Introduction

Welcome to Webblog Kruploy ให้นักเรียนเลือกศึกษาตามเรื่องที่สนใจ ทำกิจกรรมในแต่ละเรื่อง และลงความคิดเห็นส่งครู Students choose to study by subject of interest. Activities in each subject. And teacher comments.

2 มิ.ย. 2558

การตั้งประเด็นปัญหา

การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า
สิ่งสำคัญที่สุดในการศึกษาค้นคว้า คือ การเลือกเรื่องเพื่อตั้งประเด็นปัญหา เพราะถ้า
เลือกเรื่องเหมาะสมจะมีอุปสรรคน้อย ช่วยให้งานสำเร็จได้ด้วยดี การเลือกเรื่องตั้งประเด็นปัญหาจึงต้องทำอย่างละเอียด รอบคอบ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
            1. เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความสนใจอย่างแท้จริง และมีประโยชน์ต่อคนในสังคมโลก
เพราะต้องใช้ความพากเพียร อดทน ตั้งใจศึกษาค้นคว้าจึงจะสำเร็จได้
            2. ผู้ศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความสามารถในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า สอดคล้องกับพื้นฐาน
ประสบการณ์ และต้องมั่นใจว่าตนมีศักยภาพในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องนั้น
 3. เป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามีทุนเป็นค่าใช้จ่ายเพียงพอ ควรทำประมาณการค่าใช้จ่าย
เป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าเดินทางเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าพิมพ์รายงาน และอื่นๆ
             4. มีแหล่งการเรียนรู้สำหรับศึกษาค้นคว้าเพียงพอ อาจจะเป็นวัสดุสารสนเทศในห้องสมุด
ฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ต สถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง
            5. สามารถขอความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้า
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ผู้ช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
การนิยามปัญหา คือ การอธิบายปัญหาที่จะทำการศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจน ประกอบด้วย
บทนำ หรือความเป็นมา จุดมุ่งหมาย สมมุติฐาน เป็นต้น
 บทนำ หรือความเป็นมา เป็นการกล่าวถึงที่มาของปัญหาที่จะศึกษาค้นคว้า แสดงให้เห็น
ว่าปัญหาคืออะไร เหตุใดจึงต้องศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้น อาจอ้างทฤษฎี กฎเกณฑ์ หรือข้อเขียนที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีน้ำาหนักน่าเชื่อถือ การกำาหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย เขียนให้ครอบคลุมประเด็นปัญหา เขียนแยกเป็นรายข้อ หรือไม่แยกข้อก็ได









ใบความรู้  I20201 (IS1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยที่ 1 ผลการเรียนรู้ มีความรู้ และทักษะการตั้งประเด็นปัญหาเพื่อการศึกษาค้นคว้า
1.2 มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุสารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศ คือ สื่อที่บันทึกข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ซึ่งแบ่งตามสิ่งที่ใช้บันทึกได้เป็น 3 ประเภท คือ วัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
          วัสดุตีพิมพ์ คือ กระดาษที่พิมพ์ข้อความเพื่อใช้ประกอบการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร
แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้
            1. หนังสือ เป็นเรื่องราวความรู้ของคนที่เรียบเรียงแล้วจัดพิมพ์ไว้อ่านมีส่วนประกอบ
ที่สำคัญ คือ
            1.1 ส่วนปก มีใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบยึดปก และใบรองปก
            1.2 ส่วนต้น มีหน้าปกใน ค าน า สารบัญ เป็นต้น
            1.3 ส่วนเนื้อหา
            1.4 ส่วนท้าย มีบรรณานุกรม ภาคผนวก ดัชนี และอภิธานศัพท์
2. วารสาร หรือนิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออกติดต่อกันเป็นประจำภายใต้ชื่อเรื่องเดิม เรียงลำดับเนื้อหาตามที่แจ้งไว้ในสารบัญ
            3. หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมักออกเป็นรายวัน เพื่อเสนอข่าว เหตุการณ์ที่น่าสนใจ
            4. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีความยาวไม่มาก
            5. กฤตภาค เป็นการรวบรวมเรื่องจากสิ่งพิมพ์ นำมาจัดเก็บเป็นระบบ
 วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นวัสดุที่สามารถมองเห็น (ทัศนวัสดุ) หรือฟัง (โสตวัสดุ) หรือทั้งมองเห็น
และฟัง (โสตทัศนวัสดุ) ได้โดยตรง หรือต้องอาศัยเครื่องมือนำเสนอข้อมูล เช่น รายการวิทยุ รูปภาพ หุ่นจำลอง รายการโทรทัศน์ ไมโครฟิล์ม เป็นต้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นสื่อประสมของข้อมูล ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง เช่น
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นซอฟ์แวร์ทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ทำกิจกรรมตอบสนองร่วมกับสื่อได้โดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
สื่อการเรียนบนอินเทอร์เน็ต หรืออีเลิร์นนิ่ง หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ บอกรับ
เป็นสมาชิกได้ทางซีดีรอม ฐานข้อมูล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง วัสดุสารสนเทศ
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยตนเอง เพื่อตรวจสอบความรู้หลังเรียนโดยการ
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียวในแต่ละข้อ แล้วเขียนคำตอบลงในสมุดแบบฝึกหัด 11
1. ข้อใด เป็นวัสดุสารสนเทศ
ก. หนังสือ ข. อินเทอร์เน็ต         ค. กระดาษ          ง. ดินสอ
2. ข้อใด เป็นวัสดุตีพิมพ์
      ก. เครื่องพิมพ์ ข. รูปภาพ      ค. เครื่องคิดเลข ง. วารสาร
3. เรื่องราวอันเป็นความรู้ความคิดของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งเรียบเรียงแล้วจัดพิมพ์เป็นหลักฐานให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพื่อสืบทอดความรู้ ความคิด หมายถึงอะไร
ก. หนังสือพิมพ์             ข. จุลสาร ค. หนังสือ           ง. วารสาร
4. หน้าปกในของหนังสือ จัดอยู่ในส่วนใด
     ก. ส่วนเนื้อหา ข. ส่วนท้าย                      ค. ส่วนปก           ง. ส่วนต้น
5. ข้อใด คือ ความหมายของวารสาร
ก. สิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว เหตุการณ์ที่น่าสนใจโดยรวดเร็ว มักออกเป็นรายวัน
 ข. ข้อมูล ความรู้ ที่มีการรวบรวมไว้เพื่อให้น ามาใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวก
 ค. สิ่งพิมพ์ที่มีจำนวนหน้ามาก
        ง. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออก ติดต่อกันภายใต้ชื่อเรื่องเดิม มีกำหนดเวลาออกแน่นอน แต่ไม่ใช่รายวัน
6. วัสดุตีพิมพ์ในข้อใดที่มุ่งเสนอข่าว
ก. หนังสือพิมพ์          ข. จุลสาร ค. หนังสือ          ง. วารสาร หรือนิตยสาร
7. ข้อใดเป็นความหมายของ วัสดุที่สามารถมองเห็น หรือฟัง หรือทั้งมองเห็น และฟังได้โดยตรง    
    หรือต้องอาศัยเครื่องมือน าเสนอข้อมูล
         ก. อินเทอร์เน็ต  ข. วัสดุไม่ตีพิมพ์  ค. วัสดุตีพิมพ์  ง. อีเลิร์นนิ่ง
8. ข้อใดเป็นลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ก. สื่ออิเล็กทรอนิกส์    ข. วัสดุไม่ตีพิมพ์     ค. บทเรียนผ่านดาวเทียม ง. วัสดุตีพิมพ์
9. ข้อใดถูกต้อง
      ก. E-learning ไม่ต้องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข. ฐานข้อมูล รวมแฟ้มข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
      ค. CAI เป็นการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ง. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประสม
10. หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมเนื่องจากสาเหตุใด
      ก. เหมาะกับคนในสังคมเมือง  ข. เหมาะกับคนรุ่นใหม่   ค. ความสะดวก รวดเร็ว   ง. ประหยัด
กิจกรรม
 ให้นักเรียนทำใบงานหน่วยที่ 1 เลือกวัสดุสารสนเทศห้องสมุดตามประเด็นปัญหาของตน
อย่างน้อย 3 เล่ม จากพจนานุกรม สารานุกรม และสื่ออื่น ๆ ศึกษา บันทึกในสมุดบันทึกการอ่าน 12
 ถ้าตอบถูก 7 ข้อขึ้นไป แสดงว่ามีความรู้ เรื่อง วัสดุสารสนเทศ อยู่ในระดับใด
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง วัสดุสารสนเทศ
 1.                   2. ง                  3.                   4.                   5.
 6.                   7.                   8.                   9.                   10.
คำบรรยายภาพแบบวงรี: ลองพยายามเขียนดูนะ  ครูไม่อยากให้นักเรียนมีความทุกข์  เห็นนักเรียนท้อแท้ ครูก็ไม่สบายใจ ลองซักครั้ง  สู้ ๆ ๆ

หลักการเขียน  ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา                

                                                                                             บทที่ 1
                                                                                             บทนำ

 ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา

                    เป็นการเกริ่นนำหรืออารัมภบทแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัย  หรือเหตุผลที่สมควรต้องมีการ ศึกษาปัญหาพิเศษเรื่องนี้ โดยพยายามกำหนดปัญหาให้ชัดเจนทั้งในด้านการเกิดความรุนแรง การกระจายตัวของปัญหา หรือด้านอื่น ๆ ให้เข้าถึงข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสถิติ สอบถามความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแสวงหาเหตุผลที่น่าเป็นไปได้ จากทฤษฎีและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยเขียนโน้มน้าว จูงใจให้ผู้อ่านคล้อยตามเห็นด้วยว่าทำไมต้องทำวิจัยเรื่องนี้ เช่นยังประสบปัญหาอยู่แก้ไขไม่ได้  โดยใช้ความคิดตัวเองให้มากที่สุด
  • ย่อหน้าแรก จะต้องอภิปรายถึงความเป็นมา ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย หรือข้อโต้แย้งของการทดลองที่ได้ทำการก่อนหน้า
  • ย่อหน้าที่สอง จะต้องอภิปรายถึงความสำคัญ ข้อดีของปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เราสนใจจะดำเนินการทำ ควรมีเอกสารหรือที่มาของปัญหาที่ที่อ้างอิงเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งสิ่งที่ เราจะทำการทดลองนั้น
  • ย่อหน้าสุดท้าย ต้องอภิปรายสรุปเป้าหมายหรือเหตุผลที่จะทำ เพื่อแก้ปัญหาที่งานที่เราจะทำ และต้องทิ้งท้ายด้วยรูปแบบดังนี้ คือ
                                      ดังนั้นปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขา…………....................…ฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษา.............................………………………….............................……….เพื่อ............................ต่อไป
..................................................
                                                                                        บรรณานุกรม

”ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

                  http://agro-industry.rmutsv.ac.th/project_agro/ch_2/f3_intro.html  ( ม.ป.ป) สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2556.





                                                                                      บทนำ
บทที่ 1
รูปแบบการเขียน       ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                                      ปัญหาวิจัยเขียนจากกว้างไปแคบ(ลึก)
   เขียนเรื่องทั่วๆไป
รื่แองเทั่ว ๆ                         
 



                                                                   กว้าง
                                         
เรื่เขียนเรื่องเฉพาะ
อง
รื่แองเทั่ว ๆ                         
 
                                                   
รืสรุปชี้ให้เห็นปัญหา
ที่ศึกษาเพื่อแก้ปัญหา

สรุปชี้ให้เห็นปัญหา

สรุปชี้ให้เห็นปัญหา
งเทั่ว ๆ                         
 
                                                                                      ลึก

           



                                          ................................................................................................................................................................................................
                                                                                









ตัวย่าง  การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาวิจัย

ตัวอย่างที่ 1  การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาของวิจัยเรื่อง
การ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
เรื่อง มารยาทไทย สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันการศึกษาได้กล่าวถึงบทบาทเทคโนโลยี สารสนเทศกับการศึกษาว่าสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา ในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ( Computer Assisted Instructor) ระบบสื่อประสม (Multimedia ) ระบบสารสนเทศ (Information System ) ระบบฐานข้อมูล( Data System)  ระบบปัญญาประดิษฐ์( Artificial Intelligence)  และระบบอินเตอร์เน็ท(Internet )  เป็นต้น จากผลกระทบของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้รูปแบบหรือวิธีการจัดการศึกษารูปแบบเดิมคือ ยึดครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ เป็นการจัดการศึกษาในระบบเดิม ไม่ตอบสนองต่อการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง การจัดการศึกษาในปัจจุบันต้องมีลักษณะที่เป็นระบบเปิดมากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เน้นการศึกษาเป็นรายบุคคล เน้นเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เน้นคุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริมนันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจมากยิ่งขึ้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย สอนเป็นสื่อประเภทสองทาง (Two Way Communication) ซึ่งเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถพิมพ์โต้ตอบ  หรือใช้เมาส์คลิกเพื่อเลือกตอบคำถาม ซึ่งถือเป็นการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วย สอนยังเปรียบเสมือนการนำเอาสื่อทั้งหลายในอดีตมาบูรณาการ (Integrate)  เข้าด้วยกัน เช่นแทรกภาพเคลื่อนไหวแทนการสอนโดยใช้           วิดีทัศน์  แทรกเสียงที่บันทึกไว้แทนการใช้เครื่องเล่นเทป ทำภาพที่แสดงทีละกรอบแทนการใช้แผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังสามารถสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทางเครือข่าย อินเตอร์เน็ต (Web base Instruction -WBI) ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา  และไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน

     ลักษณะการจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต ควรจะเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ในลักษณะ การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study) โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามาประยุกต์ในทางการศึกษา ซึ่ง กิดานันท์ มะลิทอง(2536, 163-164)     ได้กล่าวถึงการจัดการศึกษารายบุคคลว่าเป็นการจัดการศึกษาที่พิจารณาถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความต้องการ และความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจตามกำลังความสามารถของตน ตามวิธีการและสื่อการสอนที่เหมาะสม เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้และการที่จะสำเร็จได้นั้นย่อม ต้องอาศัยการจัดระบบการจัดการและการวางแผนการสอนที่ดี โดยจัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน มีการจัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการศึกษา คือ สื่อการเรียนประเภทต่าง ๆ ได้แก่  สื่อสิ่งพิมพ์โสตทัศนวัสดุ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีโอ เป็นต้น โดยเฉพาะสื่อที่เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นับเป็นสื่อที่กำลังมีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากข้อได้เปรียบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เหนือกว่าสื่อการ เรียนประเภทอื่น
คำบรรยายภาพแบบวงรี: อักษรสีน้ำเงิน  เป็นสภาพที่เป็นปัญหาที่นักเรียนจะต้องเขียนบรรยายปัญหา
ในโรงเรียนที่พบอย่างละเอียด

ก็คือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบทเรียนได้ตลอดเวลา

     ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการรับเอาวัฒนธรรมของตะวันตกจนลืมวัฒนธรรมไทยอันดีงามที่ได้สั่งสม ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ การเดิน การนั่ง การยืน และการรับของ ส่งของ   เป็นต้น ดังนั้น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ยุทธวิธีหลายด้านควบคู่กัน ทั้งยุทธวิธีการขัดเกลาทางสังคม โดยผ่านตัวแทนที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมว่าจะเป็นสถาบันครอบครัว สถาบันทางศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางศึกษาถือเป็นหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทำหน้าที่ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญงอกงามทาง ด้านสติปัญญาและอารมณ์ การใช้มาตรการทางการศึกษาเพื่อขัดเกลาทางสังคมกับเยาวชนไทยให้ตระหนักถึงคุณ ค่าของวัฒนธรรมและประเพณีให้คงอยู่ต่อไปได้นั้น จึงเป็นหน้าที่ของครูโดยตรงที่จะต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อป้องกัน และแก้ไขพฤติกรรม      การแสดงที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้การบรรจุไว้ในหลักสูตรทุกระดับการศึกษา รวมทั้งหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีการจัดไว้ทั้งเป็นรายวิชาเดี่ยวและรายวิชาบูรณาการของแผนกวิชาสังคม ศาสตร์โดยมีเนื้อหาอยู่ไว้ในรายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม เรื่อง การปฏิบัติมารยาทไทย เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย  ฉะนั้น สื่อการสอนจึงเป็นสื่อกลางในการนำความรู้ความเข้าใจไปสู่ผู้เรียนและทำให้ การเรียนการสอนมีความหมายมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วยสื่อการสอนได้ช่วยจัด ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้ใกล้เคียงความจริง  ช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปแล้ว  เพราะสื่อคือตัวกลางที่นำสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้ถูกต้องและรวดเร็วที่ สุด (นิพนธ์ ศุขปรีดี 2530, 23) จะเห็นได้ว่าการใช้สื่อการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีผลต่อความคงทนในการ เรียนรู้อีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของ John Dewey ที่กล่าวว่า การเรียนรู้ที่ดี คือ การเรียนรู้ที่ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Learning by Doing) นอกจากนั้นผู้เรียนยังเรียนรู้ได้ตามความสามารถของตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
     จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ สังคม เรื่อง มารยาทไทย โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนที่กำลังเกิดขึ้น  ประกอบกับให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษาซึ่งใช้ ปรัชญายึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
..................................................
http:// Copyright © 2011 Sirichom     sirichom.rmutl.ac.th/learning/unit1/content6.html

ตัวอย่างที่ 2  เรื่อง
“พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของ เด็กชาย ศราวุธ แสงใหม่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่บกพร่องทางการเรียนรู้”
ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ในการสื่อสาร องค์ประกอบของภาษาคือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้คนในสังคมมีความเข้าใจที่ดีต่อกันและอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข การเรียนการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษามุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางภาษา ทั้งทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารถึงการรับรู้ และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้นักการศึกษายังเห็นความสำคัญของวิชาภาษาไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาอื่นๆ อีกด้วย (กิ่งกาญจน์ ถิรสุรคนธ์.2521 : 3)
            การอ่านเป็นทักษะสำคัญที่ ช่วยปรับและขยายประสบการณ์ของมนุษย์ ทั้งยังช่วยให้สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างความเพลิดเพลินจากหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้มากและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าความสำเร็จในการเรียนของเด็กส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการอ่าน คืออ่านช้า ขาดความเข้าใจในการอ่าน และไม่สามารถจดจำเรื่องที่อ่านได้ ย่อมทำให้การเรียนวิชาต่าง ๆ ไม่ได้ผลไปด้วย ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายวิตกกังวลหรือเกิดความท้อแท้ไม่อยากเรียน ต่อไป การอ่าน จึงเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในวิชาการต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การอ่าน จะช่วยทำให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตนอยากรู้ ขยายความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ฉะนั้น การอ่านจึงเป็นบันไดไปสู่ความสำเร็จอีกหลายด้าน
คำบรรยายภาพแบบวงรี: อักษรสีน้ำเงิน  เป็นสภาพที่เป็นปัญหาที่นักเรียนจะต้องเขียนบรรยายปัญหา
ในโรงเรียนที่นร.เลือกศึกษาอย่างละเอียด

             การเขียนนับเป็นการสื่อ สารที่มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่าทักษะอื่น เพราะผู้ที่สามารถฟัง พูดอ่าน ได้ดีจึงจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการออกมาทางการเขียนเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่น เข้าใจ ทักษะการเขียนจึงเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายที่คงทนถาวรเป็นหลักฐานที่ ดีกว่าทักษะอื่น (จุไร วรศักดิ์โยธิน. 2520 : 3 ) ฉะนั้นผู้เขียนจึงต้องพยายามเขียนคำให้ถูกต้อง ใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการเขียนที่มีประสิทธิภาพ ในการเขียนนอกจากต้องคำนึงถึงเนื้อความตามวัตถุประสงค์ สำนวนที่สละสลวยถูกต้องตามหลักภาษาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการสะกดคำด้วย (สาลินี ภูติกนิษฐ์. 2530 : 1) เพราะการเขียนสะกดคำที่ถูกต้องนอกจากจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วแล้วยังช่วยให้ผู้เขียนเกิดความมั่นใจในตนเองทุกครั้งที่เขียน



               ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียน จำนวนหนึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสมองซีกซ้ายบกพร่อง หรือมีความยากลำบากในการจัดกระทำข้อมูล นักเรียนจะแสดงพฤติกรรมด้านการอ่าน ดังนี้ อ่านช้า อ่านเสียงผิดเพี้ยน ประสมคำไม่ได้ จำรายละเอียดของคำไม่ได้ อ่านข้ามคำที่อ่านไม่ได้ อ่านตกหล่น หรืออ่านเพิ่มคำ ผันเสียงวรรณยุกต์สับสน หรือผันไม่ได้ อ่านเสียงดังอ้อมแอ้มอยู่ในลำคอ แทนที่คำที่อ่านไม่ออกด้วยคำอื่น อ่านตะกุกตะกัก ต้องสะกดไปด้วยระหว่างที่อ่าน อ่านกลับคำ สับสนมาตราตัวสะกดต่าง ๆ อ่านคำควบกล้ำไม่ได้ สับสนเสียงสระโดยเฉพาะสระประสม สระลดรูป ขาดสมาธิในการเรียน ด้านการเขียน นักเรียนจะเขียนช้า เขียนตัวอักษรกลับหลัง วนหัวพยัญชนะหลายรอบ สะกดคำผิดบ่อยแม้แต่คำง่าย ๆ เขียนแล้วลบบ่อย เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง เขียนเพิ่มหรืออาจเขียนตกหล่น วางสระและวรรณยุกต์ไม่ถูกที่ เขียนตัวอักษรสลับกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักเรียนเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน ถึงแม้นักเรียนจะมีระดับสติปัญญาเหมือนนักเรียนปกติอื่นๆ ก็ตาม แต่หากนักเรียนกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับนักเรียนปกติ

ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจ ที่การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของ เด็กชาย ศราวุธ แสงใหม่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกการอ่านของ ศาสตราจารย์ ดร. ผดุง อารยะวิญญู การสอนประกอบการใช้แบบฝึก เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ให้สามารถอ่านและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการสอนการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการ เรียนรู้ต่อไป

 http://www.gerapatr.com/craftsmanship/index.php/report-menu/8-importance-of-the-problem
................................................


























ตัวอย่างที่ 3 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาโรคเบาหวาน


                  โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อที่เกิดขึ้นทั่วโลก สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติประมาณการณ์ว่าปี พ.ศ.2546 มีประชากรป่วยเป็นเบาหวาน 194 ล้านคน และในปี พ.ศ.2568 (อีก 22 ปี ข้างหน้า) จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 333 ล้านคนทั่วโลก และเป็นการเพิ่มในคนเอเซียถึงร้อยละ 75.4 ซึ่งจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และปากีสถาน มีมากที่สุดในโลก สำหรับในประเทศไทย โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 33.3 ต่อประชาการ 100,000 คน ใน พ.ศ.2538 เพิ่มเป็น 91.0 ใน พ.ศ. 2537 และเป็น 586.8 ต่อประชาการ 100,000 คน ใน พ.ศ.2549
      ในกลุ่มประชากรที่ระดับเศรษฐกิจสังคมยากจนที่สุด พบว่า อัตราส่วนการตายมาตรฐานของโรคเรื้อรัง 3 โรค ได้แก่ เบาหวาน หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานมีอัตราส่วนการตายมากที่สุด คิดเป็น 84.36 รองลงมา ได้แก่ หัวใจขาดเลือด คิดเป็น 51.08 และหลอดเลือดสมอง คิดเป็น 46.30 (พินิจ ฟ้าอำนวยผล และ ปัตมา ว่าพัฒนวงศ์, 2548 ใน สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ , 2551)
อาจกล่าวได้ว่า ปัญหาโรคเบาหวานเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลให้เกิดความพิการทางด้านร่างกายและส่งผลกระทบ ต่อการประกอบอาชีพ รายได้ของผู้ป่วยและครอบครัว ซึ่งประชากรไทยทุกๆ 100 คนจะมีผู้เป็นเบาหวานถึง 6 คน และประมาณว่าร้อยละ 9.6 ของประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในประเทศไทยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 95 จากรายงานของสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขในปี 2542-2546 พบสาเหตุการตายด้วยโรคเบาหวานมีอัตราร้อยละ 11.4 ,12.2,13.2,11.8 และ 10.4 ตามลำดับ
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน กล่าวคือ ยิ่งเป็นเบาหวานนานเท่าใดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนก็จะมากขึ้นเท่านั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานนาน 12 ปี และ 20 ปี มีโอกาสเกิดโรคสมองตีบมากกว่าคนปกติ 2 และ 2.2 เท่าตามลำดับ และจากการศึกษาภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานของสมาคมโรคเบาหวานในประเทศ ออสเตรเลีย เมื่อปี 1999 พบว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายมากถึงร้อยละ 2.3 และเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ เช่นร้อยละ 19 การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ร้อยละ 48 เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ร้อยละ 34 เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและร้อยละ 32 เกิดโรคหลอดเลือดส่วนปลาย และพบว่า โรคเบาหวานทำให้สิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากกว่าคนปกติถึง 3 เท่าจังหวัดกาฬสินธุ์ มีรายงานพบผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรคในกลุ่มประชากรอายุ ตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไปในปี 2551 พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานเข้ามารับการรักษาในสถานบริการกระทรวงสาธารณสุขใน พื้นที่ คิดเป็นอัตราป่วย 446.25 ต่อแสนประชากรและในพื้นที่อำเภอยางตลาด มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาในคลินิกเบาหวานในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 2,900 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,416 ต่อแสนประชากร สำหรับศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาในคลินิกเบาหวานในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 219 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,766.89 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีจำนวน 151 ราย คิดเป็น 68.95 % ผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีจำนวน 68 รายคิดเป็น 31.05 % มีภาวะแทรกซ้อนทางไตจำนวน 16 ราย คิดเป็น 7.31 % มีภาวะแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงจำนวน 109 ราย คิดเป็น 49.77 % มีภาวะแทรกซ้อนทางตาจำนวน 5 ราย คิดเป็น 2.28 % มีภาวะแทรกซ้อนเป็นแผลเรื้อรังจำนวน 2 ราย คิดเป็น 0.91%
คำบรรยายภาพแบบวงรี: อักษรสีน้ำเงิน  เป็นสภาพที่เป็นปัญหาที่นักเรียนจะต้องเขียนบรรยายปัญหา
ในโรงเรียนที่นร.เลือกศึกษาอย่างละเอียด
 





                 จากการศึกษาในทางระบาดวิทยาพบว่ามีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และเป็นสาเหตุของ การเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้สามารถวางแผนป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ล่วงหน้า (วิทยา ศรีดามา,2545) ปัจจัยคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยด้านพันธุกรรมพบว่าโรคเบาหวานสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และในส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน จากสภาวะทางสังคม เศรษฐกิจ ในปัจจุบันทำให้การดำเนินชีวิตของบุคคลต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถดำเนิน ชีวิตในสังคมปัจจุบันได้ พฤติกรรมต่างๆของบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนที่เปลี่ยนเป็นนิยมบริโภคอาหาร ไขมันสูง โปรตีนสูง กากใยต่ำ ประกอบกับขาดการออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งภาวะเครียดที่สะสม ได้ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของบุคคล เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ของบุคคล เช่น ภาวะความอ้วนโดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 25 กก./ม2 (อภิชาต วิชญาณรัตน์,2546) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนั้นขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด (รัชตะ รัชตะเวทิน และ ธิดา นิงสานนท์, 2544) ซึ่งปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดเป็นผลจากพฤติกรรม ดังนั้นการที่จะพยายามหาทางป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน สิ่งที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง คือ การได้ผลที่คุ้มค่า ตรงกับความต้องการ และตรงกลุ่มเป้าหมาย (พงศ์อมร บุญนาค,2542) ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนจากพฤติกรรมเสี่ยงเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ เหมาะสม
นอกจากนี้ ปัญหาการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคเบาหวาน วิธีการควบคุมรักษาและการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับโรค (วัลลา ตันตโยทัย,2525) ผู้ป่วยเบาหวานยังต้องมีการเรียนรู้และปรับแบบแผนการดูแลตนเองให้สอดคล้อง กับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาอย่างถูกต้อง การควบคุมน้ำหนัก การดูแลรักษาเท้าและการดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าผู้ป่วยเบาหวานมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องดังกล่าว จะทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานให้กลับสู่สภาวะปกติหรือ ใกล้เคียงภาวะปกติและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ (วรรณี นิธิยานันท์,2533)
                    จากข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดทำให้ผู้วิจัยทราบถึงปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานว่าผู้ป่วยเบาหวานมีปัญหาในเรื่องการขาดความรู้,ขาดการดูแลตนเองอย่างเพียงพอและต่อเนื่องและมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจากการสอบถามและการสังเกตผลการรักษาผู้ป่วยมารับบริการที่ศูนย์แพทย์ ชุมชนโคกศรี พบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เกิดจาก การที่ผู้ป่วยลืมรับประทานยา การปรับยาทานเอง การไม่มารับยาตามนัด การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องในเรื่องการควบคุมอาหาร การขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด รวมทั้งการขาดคนดูแลใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาเกี่ยวกับความรู้,แบบแผนการ ดูแลตนเอง,การปฏิบัติตัวต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ขึ้นทะเบียนและรับการรักษาในคลินิกเบาหวานของศูนย์แพทย์ชุมชนโคกศรี เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ การให้บริการ ควบคุม ดูแลรักษาโรคเบาหวาน โดยมุ่งหมายให้การดูแลรักษาเบาหวานมีคุณภาพและประสิทธิผลที่ดี สามารถลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดต่อไป


บรรณานุกรม

geenabhud.”ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาโรคเบาหวาน.” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

                   http://geenabhud.wordpress.com/2012/08/14/proposal/ 2555 สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2556.
คำบรรยายภาพแบบวงรี: อักษรสีน้ำเงิน  เป็นสภาพที่เป็นปัญหาที่นักเรียนจะต้องเขียนบรรยายปัญหา
ในโรงเรียนที่นร.เลือกศึกษาอย่างละเอียด
 



                                        ----------------------------------------------------


ตัวอย่างที่  4  เรื่อง รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่องการเขียนรายงานการค้นคว้า          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

   จากประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชา ห้องสมุดเพื่อการศึกษาและค้นคว้า (31281) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมของผู้รายงาน        พบว่า นักเรียนส่วนมากขาดทักษะการเขียนรายงาน  และขาดทักษะการค้นคว้าอย่างถูกวิธี  สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจ หลักการและขั้นตอนการค้นคว้าการเขียนรายงานทางวิชาการอย่างถูกต้อง ซึ่งการทำงานจะใช้วิธีการคัดลอกข้อความที่พบจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ไม่มีการสรุปหรือย่อความด้วยตนเอง และถ่ายเอกสารมาปะติดปะต่อกัน เพื่อให้รายงานฉบับนั้นเสร็จสิ้นพร้อมส่งครู โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบว่าในการจัดการเรียนรู้               แบบบรรยายและสาธิตเป็นวิธีสอนแบบหนึ่งที่พบว่า นักเรียนขาดความสนใจ และไม่สนุกกับ   การเรียน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียน     เกิดความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น เพราะเป็นสื่อการสอนที่เร้าความสนใจ นักเรียนสามารถศึกษา          ค้นคว้าได้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการศึกษาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ยังเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองตามความสามารถ และอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถเรียนรู้ได้เท่ากันในเวลาใกล้เคียงกัน  แต่ทุกคนก็มีความสามารถในการเรียนรู้ได้
   จากเหตุผลดังกล่าวผู้รายงานจึงได้ศึกษาและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย    เรื่อง การเขียนรายงานการค้นคว้า ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาห้องสมุดเพื่อ  การศึกษาและค้นคว้า ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ และศึกษาด้วยตนเอง นำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนได้เป็นอย่างดี

                                                         ........................................












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Recent Posts

อบรมการจัดทำ blog

อบรมการจัดทำ blog
training blog

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าวการศึกษา

ค้นข่าวมาเล่า