โครงงานคอมพิวเตอร์ หมายถึง เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือ
ใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์
จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนา
การสร้างผลงานจริงอีกด้วย
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำ เค้าโครงของโครงงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
5. งานอดิเรกของนักเรียน
6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนา มาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
4. มีเวลาเพียงพอ
5. มีงบประมาณเพียงพอ
6. มีความปลอดภัย
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำ เนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
1. จะทำ อะไร
2. ทำไมต้องทำ
3. ต้องการให้เกิดอะไร
4. ทำอย่างไร
5. ใช้ทรัพยากรอะไร
6. ทำกับใคร
7. เสนอผลอย่างไร
3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน
รายงาน รายละเอียดที่ต้องระบุ
ชื่อโครงงาน ทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน ผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครู-อาจารย์ผู้ทำ หน้าที่เป็นที่ปรึกษา ควบคุมการทำโครงงานของ นักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน ระยะเวลาการดำ เนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
แนวคิด ที่มาและความสำคัญ สภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
วัตถุประสงค์ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
หลักการและทฤษฎี หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
วิธีดำ เนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่และงบประมาณ
ขั้นตอนการปฏิบัติ วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
เอกสารอ้างอิง สื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน
4. การลงมือทำโครงงาน
เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นขอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
การเตรียมการ
การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้
พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้ มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สา หรับ
บันทึกการทำ กิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำ โครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหา
และแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
การลงมือพัฒนา
1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำ ให้ผลงานดีขึ้น
2. จัดระบบการทำ งานโดยทำ ส่วนที่เป็นหลักสา คัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงต่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
การทดสอบผลงานและแก้ไข
การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้วให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำ โครงงาน และทำ การอภิปรายผลด้วยเพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนา ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้วทั้งนี้ยังรวมถึงการนา หลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
เมื่อทำ โครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สา คัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้
5. การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดา เนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงาน นักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
ส่วนนำ
ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำ ให้โครงงานสำเร็จ
5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำ เนินการ และผลที่ได้ โดยย่อ
บทนำ
บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
2. เป้ าหมายของการศึกษาค้นคว้า
3. ขอบเขตของโครงงาน
หลักการและทฤษฎี
หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
วิธีดาเนินการ
วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
ผลการศึกษา
ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนา ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรค์ของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนา ผลงานของโครงงานได้ใช้ด้วย
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นา มาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
การจัดทำคู่มือการใช้งาน
หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำ คู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
1. ชื่อผลงาน
2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทและเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้นการเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุมการจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
6. การสาธิตผลงาน
7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน
ตัวอย่างการเขียนขอเสนอโครงงาน
แบบเสนอโครงงานวิชา
ง 30257 โครงงานคอมพิวเตอร์ ประจำปีการศึกษา 2558
ชื่อโครงงาน
สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมต้น Math for junior high
school
รายชื่อผู้เสนอโครงงาน
1. นาย…………………………………………….
2. นาย…………………………………………….
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
……………………………………..
ตำแหน่ง …………………………….
กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนวิทยานุกูลนารี
(ลงชื่อ).......................................
(...............................................)
(ลงชื่อ).......................................
(...............................................)
วันที่ .........../........../..........
ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………….
(ลงชื่อ)..................................................
(..............................................................)
วันที่.........../............/...........
รับเมื่อวันที่......../........./.........
1. ชื่อโครงงาน : สื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมต้น (Math
for junior high school)
2. รายชื่อผู้เสนอโครงงาน ……………………………………………………………..
3. นาย…………………………………………………………………………………..
4. อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน : ………………………
ตำแหน่ง ………………………….หน่วยงาน สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนวิทยานุกูลนารี
5. หลักการและเหตุผล :
อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีส่วนกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่มากขึ้นสถาบันการศึกษาทุกแห่งให้ความสนใจในเรื่องการประยุกต์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงเปลี่ยนสภาพไปค่อนข้างมาก ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบ
การเรียนการสอนทำให้ ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เกิดขึ้นมากมาย
การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องใช้เวลาน้อย เรียนรู้ได้เร็ว มีการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันด้วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันตอบสนองต่อการประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
ในปัจจุบันจึงได้มีการนำสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่า
E-Learning ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูล และทรัพยากรที่มีการจัดเตรียมไว้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ที่มีการนำเสนอที่น่าสนใจ โดย E-Learning จะช่วยอำนวยความสะดวก
ให้ผู้เรียนมีอิสระและความคล่องตัวในการเลือกเรียนในเรื่องที่ตนสนใจได้ทุกเวลาหรือ
สถานที่ในการศึกษา สามารถแลกเปลี่ยนแนวคิดผู้เรียน หรือกับผู้สอน รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานความรู้
เพียงแค่ผู้เรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถต่อเข้า Internet สามารถเรียนผ่านระบบ E-Learning ได้แล้ว ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้มีความคิดที่จะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
ทั้งนี้เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป้นวิชาพื้นฐานที่สำคัญเนื่องจากยังขาดสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้เข้าใจง่าย
6. วัตถุประสงค์ของโครงงาน :
พัฒนาโปรแกรมสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
7. เป้าหมายและขอบเขตของโครงการ :
เป้าหมายของโครงงาน
- เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
8. ขอบเขตของโครงงาน
ส่วนของผู้ดูแลระบบ
- จะมีการ Login เพื่อเข้ามาใช้ระบบ
-อาจารย์สามารถสร้างบทเรียนใหม่ได้
-อาจารย์สามารถแก้ไขเนื้อหา บทเรียนที่ได้สร้างไว้แล้วได้
-อาจารย์สามารถสร้างข้อสอบในแต่ละรายวิชา
ส่วนของนักศึกษา
-จะมีการ Login เพื่อเข้ามาใช้ระบบ
-นักศึกษาสามารถเข้าดูเนื้อหา บทเรียนที่อาจารย์สร้างไว้ผ่าน web
ได้
-นักศึกษาสามารถทำแบบทดสอบในรายวิชาต่างๆผ่านเว็บได้
-นักศึกษาสามารถฝากคำถามและตอบคำถามผ่านทางกระดานสนทนาได้
9. รายละเอียดในการพัฒนา :
-เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ : การพัฒนาโปรแกรมนั้นจะใช้เครื่องมือ Visual
Studio .NET 2003 มาพัฒนาภาษาที่จะใช้คือ VB ในการเขียนโปรแกรมโดยใช้ร่วมกับ
ADO.NET ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ติดต่อกับ Microsoft Access
ซึ่งจะเป็นระบบการจัดการฐานข้อมูล
- งานวิจัย หรือ โครงงานที่เกี่ยวข้อง: ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2540)
ออกแบบโครงสร้างของการเรียนการสอนผ่านเว็บควรประกอบด้วยสิ่งต่างๆ
คือ
1. ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา ภาพรวมรายวิชา แสดงวัตถุประสงค์ของรายวิชา สังเขปรายวิชาคำอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อการเรียน
หรือหน่อยการเรียน
2. การเตรียมตัวของผู้เรียนหรือการปรับพื้นฐานผู้เรียนเพื่อที่จะเตรียมตัวเรียน
3. เนื้อหาบทเรียนพร้อมทั้งการเชื่อมโยงไปยังสื่อสนับสนุนต่างๆในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ
4. กิจกรรมที่มอบหมายให้ทำพร้อมทั้งการประเมินผล การกำหนดเวลาเรียน
5. แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนต้องฝึกฝนตนเอง
6. การเชื่อมโยงไปแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า
7. ตัวอย่างแบบทดสอบ ตัวอย่างรายงาน
8. ข้อมูลทั่วไป
แสดงข้อความที่จะติดต่อผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องการลงทะเบียน ค่าใช้จ่าย
การได้รับหน่วยกิจและการเชื่อมโยงไปยังสถานศึกษาหรือหน่วยงาน
9. ส่วนแสดงประวัติของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
10. ห้องสนทนาที่เป็นการสนทนาในกลุ่มผู้เรียนและผู้สอน
Susan et al (1996) ได้ศึกษาการเรียนการสอนผ่านเว็บมีองค์ประกอบดังนี้
11. ประมวลการสอนรายวิชาออนไลน์( The Online Syllabus) ประกอบด้วย หัวข้อ รายวิชาคำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์ของวิชา
12. เนื้อหา ควรประกอบด้วยข้อความเสียง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ
13. โฮมเพจส่วนตัว ช่วยให้ผู้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
14. การปฏิสัมพันธ์ (Interactive) มีกลุ่มสนทนา
กระดานข่าว และข้อมูลต่างๆ มีการใช้ E-mail ในการติดต่อกัน
15. งานที่ได้รับมอบหมาย มีการสั่งงาน เพื่อให้ผู้เรียนทำการบ้าน
16. การประกาศข้อมูลข่าวสารเพื่อแจ้งข้อมูลใหม่
10. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนา
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU รุ่น Pentium
4 processor ความเร็วไม่ต่ำกว่า 1.7 GHz
2. หน่วยความจำหลัก (RAM) 256 MB.
3. หน่วยความจำสำรอง (Harddisk) 80 GB ขึ้นไป
4. CD-ROM
52X
5. LAN
card หรือ Modem เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อ Internet
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนา
6. ระบบปฏิบัติการ Windows XP Professional
7. Microsoft
Visual Studio .NET 2003
11. ข้อจำกัดของโปรแกรมที่จะพัฒนา
o เนื่องจากมีเวลาในการพัฒนาจำกัด จึงทำให้ข้อมูลที่ได้นั้นมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยจะละเอียดมากเท่าที่ควร
12. งบประมาณ :
o กระดาษ A4 2 รีม ราคาประมาณ 200 บาท
o หนังสือความรู้ประกอบ ราคาประมาณ 500 บาท
13. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน
o รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้
§ เสนอหัวข้อโครงงาน
§ ศึกษาและรวบรวมเนื้อหาที่จะต้องใช้พัฒนาโปรแกรม
o ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับ วิชาคณิตศาสตร์ ทั้งจากทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต
o จัดแยกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน
เพื่อใช้ในการสร้างเนื้อหาในส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
o ออกแบบระบบงานและจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสม
o ออกแบบรูปแบบของหน้าจอของโปรแกรมที่จะนำมาใช้งาน
o ออกแบบรูปแบบหน้าจอที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้ง่าย
o ออกแบบรูปแบบหน้าจอให้มีความสวยงาม น่าสนใจ
14. ออกแบบฐานข้อมูล
o ออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Access ในการจัดการและเผยแพร่ข้อมูลลักษณะสัมพันธ์
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
o เขียนโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูล โดยในส่วนของการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะใช้โปรแกรม
Access และเขียนภาษา ASP ในการดึงฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงบน
web
o สร้าง Web Application
o ทำการออกแบบและสร้าง Application บนเว็บไซต์
o นำ Web Application มาทำการติดต่อกับฐานข้อมูล
o ทดสอบและปรับปรุงโปรแกรม
o ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ และตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
o สรุปผลและทำรายงานการสรุปผล
o ทำเอกสารประกอบโปรแกรม
o ทำเอกสารโปรแกรมและคู่มือการใช้
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. เสนอหัวข้อโครงงาน
2. ศึกษาการคงสภาพอ็อบเจ็ก
3. ออกแบบคลาสและกลไกลการทำงานของตัว Adapter
4. เขียนโปรแกรมตัวอย่างด้วยวิธีการคงสภาพวัตถุกับตัวอย่างของตารางเชิงความสัมพันธ์
5. จัดทำโปรแกรมและส่วนต่างของโปรแกรม
6. ทดสอบโปรแกรม
7. แก้ไขและเพิ่มเติมโปรแกรมให้สมบูรณ์
8. จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม
9. รายงานผลการดำเนินงาน
10. จัดทำเอกสาร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :
1. เป็นแหล่งให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่สนใจ
2. ส่งเสริมการเรียนการสอนอีกแนวทางหนึ่ง
3. เป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
4. เป็นแนวทางสำหรับบุคคลที่สนใจในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำไปพัฒนาต่อ
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน……………………………………………………………
สาขาของงานวิจัย……………………………………………………….
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
2…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
3…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
โรงเรียนวิทยานุกูลนารี อำเภอเมือง
จังหวัดเชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา…………………………………………………………
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)…………………………………………………
ระยะเวลาดำเนินงาน…………………………………………………วัน.
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. วัตถุประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. หลักการและทฤษฎี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6. แผนปฏิบัติงาน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
8. เอกสรอ้างอิง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวอย่าง กรณีทำเว็บไซต์
งานของนักเรียนชั้น
ม.4
.ให้ทำโครงงานคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ กลุ่มละ 1
เรื่อง
ขั้นตอนและวิธีการจัดทำ
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงร่างของโครงงานการพัฒนาเว็บไซต์ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
2. เสนอโครงร่างให้ครูผู้สอนอนุมัติ
3. เมื่อครูผู้สอนอนุมัติโครงร่างโครงงานแล้ว
ให้นักเรียนเริ่มดำเนินการจัดทำ โดยทำการศึกษา รวบรวมข้อมูล และออกแบบแบนเนอร์
และสร้าง site ในการจัดทำเว็บไซต์ โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่ม
มีหน้าเว็บเพ็จไม่ต่ำกว่า 13 หน้า แยกเป็น หน้า HomePage
1 หน้า หน้าเว็บเพ็จเนื้อเรื่อง 10 หน้า
หน้าเว็บคณะผู้จัดทำ 1 หน้า (ให้ใส่รูปภาพนักเรียนสมาชิกของกลุ่มแต่ละคน
.ใช้รูปนักเรียนเท่านั้น พร้อมประวัติรายละเอียดย่อของแต่ละคนด้วย)
หน้าเว็บอาจารย์ที่ปรึกษา 1 หน้า หน้าเว็บ
(ให้ใส่รูปภาพอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคน พร้อมประวัติรายละเอียดย่อของแต่ละคนด้วย)
4. แต่ละกลุ่มส่ง
ซีดี Website เพื่อส่งข้อมูลเก็บไว้ในเครื่อง Server ส่งภายในวันที่ 26 มกราคม
2559
5. การเขียนรายงาน
และส่งภายในวันที่ 26 มกราคม
2559
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559
ใบความรู้
เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ
โดใช้ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแกปัญหาต่างๆ
ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานควรมีองค์ประกอบหลัก
ดังนี้
- เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
- ผู้เรียนเป็นริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา
ค้นคว้า พัฒนา
- เก็บรวบรวมหรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
- ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา
สรุป และเสนอผลการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีผู้สนอเป็นที่ปรึกษา
ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา เช่น โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
เป็นโครงงานที่สร้างเครื่องมือ ใช้สร้างงาน ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป
3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน
5. โครงงานพัฒนาเกม
เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมารุก
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1.
คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์
รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โดยปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน
อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องใช้หลักการทางวิชาการแล้ว
ยังจำเป็นต้องมีข้อตกลงและเงือนไขต่างๆ ด้วย เช่น การขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
การจัดหาลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เครื่องมือและตัวแปลภาษาโปรแกรม เป็นต้น เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น
4. การลงมือทำโครงงาน
5. การเขียนรายงาน
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
เค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์
ควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงาน
ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง
............
2. สาขาของงานวิจัย
เป็นการระบุลักษณะของโครงงานที่พัฒนาว่าเป็นโครงงานชนิดใดใน 5 ประเภทที่ได้กล่าวข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม
3. ชื่อ
สกุล ผู้ทำโครงงาน
4. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
5. ระยะเวลาดำเนินงาน
ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น
6. แนวคิด
ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้
โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว
ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม
ปรับปรุงงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
7. วัตถุประสงค์
หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และล้อมาจากชื่อเรื่องของโครงงาน
8. หลักการและทฤษฏี
อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อผิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์
เป็นต้น
9. วิธีดำเนินงาน
- อูปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง
วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ
- กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา
- แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้
และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน
- งบประมาณที่ใช้
10. แผนปฏิบัติงาน
ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. เอกสารอ้างอิง
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน……………………………………………………………
สาขาของงานวิจัย……………………………………………………….
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
2…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
3…………………………………เลขที่ …………ชั้น …………….
โรงเรียนนาบอน อำเภอนาบอน
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา…………………………………………………………
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี)…………………………………………………
ระยะเวลาดำเนินงาน…………………………………………………วัน.
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. วัตถุประสงค์
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. หลักการและทฤษฎี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………
4. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….………
5. ขั้นตอนการดำเนินงาน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6. แผนปฏิบัติงาน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………
8. เอกสรอ้างอิง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………